การเขียนโปรแกรมคำนวณความสมส่วนของร่างกาย ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมคำนวณความสมส่วนของร่างกาย แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

น้ำหนักของคนเราแต่ละคนไม่เท่ากัน หากจะพิจารณาว่าใครหนักกว่าใคร หรือใครอ้วนกว่าใครจะพิจารณาจากน้ำหนักเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาถึงน้ำหนักและส่วนสูงไปพร้อมกัน ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำ 22.9 คูณกับความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมคำนวณความสมส่วนของร่างกาย

น้ำหนักของคนเราแต่ละคนไม่เท่ากัน การพิจารณาว่าใครหนักกว่าใคร
ใครอ้วนกว่าใคร จะใช้น้ำหนักเพียงอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องพิจารณาทั้งน้ำหนักและส่วนสูงของคนคนนั้นไปพร้อมกันวิธีการคำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีการหนึ่งที่คำนวณได้ง่าย ๆ จะคำนวณได้จาก 22.9 คูณกับความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

น้ำหนักที่เหมาะสม = 22.9 x (ความสูงเป็นเมตร)

ถ้าน้ำหนักของเรามากกว่าค่าที่เหมาะสมแสดงว่าเราเริ่มอ้วนถ้ามากกว่าแสดงว่าอ้วนมาก ถ้าน้อยกว่าแสดงว่าผอม และถ้าน้อยกว่ามากแสดงว่าผอมมากนั่นเอง

กิจกรรมนี้จะเขียนโปรแกรมให้ป้อนค่าความสูงในหน่วยของเซนติเมตรแล้วให้คอมพิวเตอร์แจ้งน้ำหนักที่เหมาะสมออกมา โดยเราสามารถออกแบบโปรแกรมได้ ดังนี้
เริ่มต้น

  1. รับค่าความสูงเป็นเซนติเมตรมาเก็บใน H
  2. น้ำหนักที่เหมาะสมเท่ากับ 22.9 x (H/100) % (HI100)
  3. แสดงน้ำหนักที่เหมาะสม
    จบ

ลงมือเขียนกันเลย

  1. เปิดโปรแกรม Scratch แล้วประกาศตัวแปรขึ้นมา 3 ตัวโดย
    • ตัวแปร B เป็นค่าน้ำหนักที่เหมาะสมที่คำนวณได้
    • ตัวแปร H เก็บความสูง เป็นเซนติเมตร
    • ตัวแปร M เป็นน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
รูปที่ 1 ตั้งคำตัวแปร
  1. เขียนโปรแกรมให้ถามว่าคุณสูงเท่าไร แล้วนำมาเก็บในตัวแปร H
รูปที่ 2 เขียนโปรแกรมถามว่าคุณสูงเท่าไร
  1. คำนวณค่าน้ำหนักที่เหมาะสมมาเก็บในตัวแปร B แต่การคำนวณต้องนำ 22.9 คูณกับ (H/100) คูณ (H/100) แปลงหน่วยให้เป็นเมตร ยกกำลังสองคือคุณกัน 2 ครั้ง ดังนั้นนำตัวดำเนินการคูณมากำหนดค่าให้ B แล้วกำหนดตัวตั้งเป็น 22.9 ดังภาพ
รูปที่ 3 ตั้งค์คำนวนด้วยการนำ 22.9 ไปคูณกับส่วนสูงที่เป็นเมตร
  1. นำตัวดำเนินการคูณมาวางเพิ่มอีกหนึ่งตัว เนื่องจากการคำนวณต้องคูณตัวเลข 2 ครั้ง ดังภาพ
รูปที่ 4 แปลงความสูงเป็นเมตร ที่คูณกัน 2 ครั้ง
  1. คำนวณค่าความสูงหารด้วย 100 โดยใส่ตัวดำเนินการหารลงไปแล้วกำหนดให้หารด้วย 100 ดังภาพ
รูปที่ 5 แปลงความสูงเป็นเมตร
  1. ใส่ตัวดำเนินการเพื่อกำหนดให้คูณด้วยความสูงแล้วหารด้วย 100 อีกครั้ง ดังภาพ
รูปที่ 6 ใส่ตัวดำเนินการอีกครั้ง
  1. เขียนโปรแกรมให้แสดงค่าตัวแปร B ที่คำนวณได้ โดยนำบล็อกคำสั่ง พูด Hello มาวาง โดยให้แสดงคำว่าน้ำหนักที่สมส่วนคือแล้วหน่วงเวลา 2 วินาที จากนั้นแสดงค่าในตัวแปร B
รูปที่ 7 เขียนโปรแกรม บอกว่า ” น้ำหนักที่สมส่วนคือ ” ภาษาคอมพิวเตอร์
รูปที่ 8 เขียนโปรแกรม บอกว่า ” น้ำหนักที่สมส่วนคือ ” ภาษาไทย
  1. ทดลองรันโปรแกรม จะพบว่าแมวจะแสดงข้อความว่า “คุณสูงเท่าไร” จากนั้นทดลองป้อนค่า 175 ลงไป จะพบว่าโปรแกรมจะแจ้งว่าน้ำหนักที่เหมาะสมคือ 70.13 ดังภาพ
รูปที่ 9 ผลลัพธ์เมื่อสั่งรันโปรแกรม ” คลิกธงเขียว”

จากกิจกรรมเป็นการเขียนโปรแกรมให้คำนวณอย่างง่าย เราสามารถพัฒนาโปรแกรมต่อ โดยให้คอมพิวเตอร์ถามว่าเราน้ำหนักเท่าไร เมื่อป้อนน้ำหนักลงไปแล้วแจ้งว่าเราอ้วนหรือเราผอม โดยออกแบบโปรแกรมได้ดังผังงานต่อไปนี้

รูปที่ 10 ผังงานการพิจารณาอ้วนผอม
รูปที่ 11 เขียนโปรแกรมถาม “น้ำหนักเท่าไร”

สำหรับการตรวจสอบเงื่อนไขสามารถนำบล็อกคำสั่ง มิฉะนั้น มาใช้งานได้ ดังภาพ

รูปที่ 12 บล็อกคำสั่ง เงื่อนไข ถ้า … แล้วมิฉะนั้น
รูปที่ 13 เขียนโปรแกรมพิจารณาอ้วน – ผอม ภาษาคอมพิวเตอร์
รูปที่ 14 เขียนโปรแกรมพิจารณาอ้วน – ผอม ภาษาไทย

เมื่อทดลองรันโปรแกรมแล้วป้อนความสูงเป็น 175 ป้อนน้ำหนักเป็น 64 โปรแกรมจะแจ้งว่า “คุณผอม”

รูปที่ 15 ผลลัพธ์ เมื่อรันโปรแกรมขั้นที่ 1
รูปที่ 16 ผลลัพธ์ เมื่อรันโปรแกรมขั้นที่ 2
รูปที่ 17 ผลลัพธ์ เมื่อรันโปรแกรมขั้นที่ 3
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.