การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการทำงานบ้านตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสามารถมอบหมายงาน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการทำงานจนได้ผลงานที่มีคุณภาพ ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในครอบครัว
๒.๑ กระบวนการทำงานบ้าน
การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการดังนี้
๑. การวางแผนการทำงานบ้าน เป็นการกำหนดงานที่จะทำ เป้าหมายของงานที่จะทำ วิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน เวลาที่ใช้ในการทำงาน และผู้รับผิดชอบงานแต่ละงาน
๒. การทำงานบ้านตามแผนที่วางไว้ เป็นการทำงานบ้านตามแผนงานที่กำหนด จะช่วยลดความสับสนและความผิดพลาดในการทำงานได้
๓. การประเมินผลงาน เป็นการตรวจสอบว่างานที่ทำมีข้อบกพร่องหรือไม่ถ้ามี ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

๒.๒ แผนการทำงานบ้านที่ดี
แผนการทำงานบ้านที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
๑. เรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานใดสำคัญเป็นอันดับแรก และงานใดสำคัญรองลงมา
๒. ระบุวันเวลาและกิจกรรมในแผนงานอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจตรงกัน
๓. ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจความสามารถ หรือเวลาว่างของผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ ๔. จัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับงาน โดยงานที่ใช้แรงงานมากและใช้เวลา
ในการทำงานมาก เช่น พรวนดิน ตัดหญ้า ตักน้ำ ทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ควรทำในตอนเช้าหรือทำเฉพาะวันหยุด ส่วนงานที่ใช้แรงงานน้อยและใช้เวลาทำไม่มากนัก เช่นงานปัด กวาด เช็ด ถูควรทำทุกวัน
๕. ต้องจัดสรรเวลาว่างร่วมกันหลังจากทำงานบ้านแล้ว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกาย ทำสวนรับประทานอาหารเย็น ๖. แผนงานที่กำหนดไว้ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
๗. แผนงานที่กำหนดไว้ทุกคนต้องปฏิบัติได้

ตัวอย่างการทำงานในวันหยุด 1 วัน
รูปที่ 2 ตัวอย่างการทำงานในวันหยุด 1 วัน

๒.๓ ทักษะการจัดการงานบ้าน
ทักษะการจัดการ หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน
ในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการงานบ้านจึงเป็นการทำงานบ้านด้วยตนเองเพียงคนเดียว หรือการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นระบบ ประณีต และมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำ กระดาษ อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยนำความรู้เรื่อง การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบและการเขียนแผนการทำงานบ้านมาประยุกต์ใช้กับงานแต่ละงานที่จะทำ

๒.๔ การจัดห้องครัว
ห้องครัวเป็นห้องที่ใช้เตรียมอาหาร ประกอบอาหาร จัดวางและเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในครัวต่างๆ และบางครอบครัวอาจมีโต๊ะรับประทานอาหารในห้องครัวด้วย
๑) การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัว
การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัวในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยให้เดินเข้า-ออกได้สะดวก มีความคล่องตัวในการทำงาน ดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย โดยมีแนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1

การจัดแบบชิดผนังด้านเดียวหรือแบบเส้นตรง นิยมใช้กับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด

แนวทางที่ 2

การจัดแบบชิดผนังสองด้านหรือตัวแอล (L) ใช้กับห้องครัวลักษณะแคบและยาว

แนวทางที่ 3

การจัดแบบชิดผนังสามด้านหรือแบบตัวยู (U) เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า

แนวทางที่ 4

การจัดแบบเส้นขนานใช้สำหรับห้องครัวที่มีประตูอยู่ตรงข้ามกัน ๒ ประตู

นอกจากนี้ควรมีถังขยะสำหรับใส่เศษอาหารแห้ง อาหารสด และปลักไฟเพื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

๒) การจัดเก็บอุปกรณ์ประกอบอาหารและรับประทานอาหารในห้องครัว
อุปกรณ์ประกอบอาหารและรับประทานอาหารในห้องครัวที่ล้างสะอาด
และพึ่งให้แห้งแล้ว ควรนำมาจัดเก็บ ดังนี้
🔴 หม้อลังถึง คว่ำไว้บนชั้นวางหรือเก็บในตู้โปร่ง
🟠 ครก คว่าไว้บนชั้นวางโปร่ง ๆ สากและเขียงวางไว้ข้าง ๆ
🟡 กระทะ ตะหลิว ทัพพี และกระชอนที่มีรูสำหรับแขวน ให้แขวนไว้บนที่แขวน ส่วนที่ไม่มีรูแขวนให้วางไว้ในที่วาง
🔵 มีด เก็บไว้ในที่เสียบ เพื่อป้องกันคมมีดกระทบกันและเสียคม
🟣 จาน ชาม ถ้วย คว่ำไว้บนชั้นวางโปร่ง ๆ หรือเก็บในตู้
🟤 แก้วน้ำ ถ้วย คว่ำไว้บนชั้นวางหรือเก็บในตู้
⚫ ช้อน ส้อม วางไว้ในที่วางและปิดฝาไว้
๓) การจัดเก็บเครื่องปรุงรส ข้าวสาร และอาหารแห้งในห้องครัว
หลังใช้งาน ปิดฝาขวดหรือฝาภาชนะเครื่องปรุงรส ข้าวสาร และอาหารแห้งให้แน่นสนิทก่อนนำไปจัดเก็บ ดังนี้
🟥 ขวดเครื่องปรุงรสวางรวมกันไว้บนชั้นวางหรือใกล้เตาปรุงอาหารเพื่อให้หยิบใช้สะดวก
🟧 ข้าวสารน้ำตาล เกลือ กะปิ วางไว้ในที่โปร่ง ไม่อับชื้นและไม่ร้อน 🟨 หอม กระเทียม แขวนไว้ในที่โปร่งหรือวางไว้ในตะกร้าโปร่ง
🟩 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง วุ้นเส้น เก็บในตู้มีประตูปิด

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.