การจัดตู้เย็น ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

๒.๕ การจัดตู้เย็น
ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เก็บรักษาอาหารให้คงความสดไว้และไม่เน่าเสียในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อรอการนำมารับประทานหรือประกอบอาหาร การใช้ตู้เย็นอย่างมีประสิทธิภาพทำได้โดยไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ละลายน้ำแข็งในช่องแข็งทุก ๑-๒ สัปดาห์ ทำความสะอาดชั้นวางต่าง ๆ ในตู้เย็นอยู่เสมอ และจัดวางอาหารให้เป็นระเบียบตามอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่องและชั้นวางภายในตู้เย็น เพราะอาหาร
แต่ละชนิดมีลักษณะและระยะเวลาในการเน่าเสียแตกต่างกัน

การจัดตู้เย็นมีแนวทาง ดังนี้

1 ช่องแช่แข็ง (อุณหภูมิประมาณ -๑๘ °C) เป็นช่องที่มีความเย็นมากที่สุดเหมาะกับการแช่อาหารแช่แข็งต่าง ๆ เช่น ไอศกรีม น้ำแข็ง

2 ช่องใต้ช่องแช่แข็ง (อุณหภูมิประมาณ -๑ ถึง ๑ °C) ใช้เก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ หมูแฮม ไส้กรอก และอาหารทะเล โดยก่อนแช่ควรห่อปิดให้มิดชิด

3 ช่องเก็บของทั่วไป (อุณหภูมิประมาณ ๒-๕ °C) เหมาะสำหรับเก็บของที่บริโภคหรือใช้ไม่หมด แล้วต้องการนำมาใช้อีก เช่น ขนมหวาน อาหารสำเร็จรูปยา และไม่ควรนำอาหารหรือขนมหวานที่ซื้อมาแช่ทั้งถุง ควรเปลี่ยนใส่ภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิดก่อน จึงนำไปเก็บในตู้เย็น

4 ช่องแช่ผักและผลไม้ (อุณหภูมิประมาณ ๖-๘ °C) เหมาะสำหรับบรรจุผักและผลไม้ทั้งผล หรือผักและผลไม้ที่ปอกเปลือกแล้วห่อหุ้มด้วยพลาสติกหรือถุง ส่วนผักที่เป็นใบ เช่น ผักชี ขึ้นฉ่าย ควรเด็ดใบเน่าเสียทิ้งก่อนแล้วจึงนำไปห่อด้วยใบตองหรือใส่ถุงเก็บโดยไม่วางถุงทับซ้อนกัน เพราะจะทำให้ผักช้ำ

5 ช่องประตูเปิด-ปิด (บานพับ) เหมาะสำหรับวางของที่หยิบใช้บ่อย ๆ เช่น ไข่ น้ำดื่ม นม น้ำผลไม้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.