การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การคูณ) ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การคูณ) แล้ว นักเรียนบอกได้ว่า

การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การคูณ) จะต้องทำการประกาศตัวแปรไว้สำหรับใช้เก็บข้อมูลที่รับเข้าไปประมวลผล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การคูณ)

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลมักมีการประกาศตัวแปร สำหรับเก็บข้อมูลที่รับเข้าไปประมวลผล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล
ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการให้คอมพิวเตอร์รับตัวเลขสองค่าจากแป้นพิมพ์เข้ามาคูณกัน แล้วแสดงผลลัพธ์ค่าแรกที่รับเข้าไปอาจเก็บไว้ใน x ค่าที่ของเก็บไว้ใน y จากนั้นนำทั้งสองค่ามาคูณกันแล้วเก็บไว้ในตัวแปรชื่อ sum เพื่อใช้สำหรับแสดงผล เราสามารถเขียนอัลกอริทึมเป็นข้อความ ได้ดังนี้

เริ่มต้น
1. ประกาศตัวแปร x, y และ Sum
2. รับค่าแรกเก็บใน x
3. รับค่าที่สองเก็บใน y
4. นำ x คูณกับ y แล้วเก็บไว้ใน sum
5. แสดงผล Sum
จบ

การเขียนโปรแกรมลักษณะนี้จะต้องประกาศตัวแปรขึ้นมา 3 ตัว แล้วนำมาประมวลผล โดยทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เปิดโปรแกรม Scratch เลือกชุดคำสั่งสคริปต์ แล้วเลือกข้อมูล
  2. ประกาศตัวแปรโดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Variables
  3. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง ให้สร้างตัวแปรใหม่ ให้ตั้งชื่อเป็น x แล้วคลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK
สร้างตัวแปร
รูปที่ 1 สร้างตัวแปร x
  1. ทำซ้ำโดยประกาศตัวแปรชื่อ y และ sum จากนั้นโปรแกรมจะแสดงรายชื่อตัวแปรทั้งหมด และมีค่าเริ่มต้นเป็น 0 พร้อมทั้งแสดงค่าของตัวแปรไว้มุมบนซ้ายของโปรแกรม ดังภาพ
 สร้างตัวแปร y,sum
รูปที่ 2 สร้างตัวแปร y และ sum
  1. การรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ สามารถใช้บล็อกคำสั่ง ask what is your name? and wait มาใช้งานได้ เมื่อมีการพิมพ์ข้อมูลเข้าไป ข้อมูลจะเก็บในตัวแปร answer เสมอ ลากบล็อกคำสั่ง ask what is your name? and wait  มาวาง ดังภาพ แล้วพิมพ์ข้อความให้โปรแกรมถามเป็น x =
เขียนโปรแกรมถามหา ค่า x หรือ ตัวตั้ง
รูปที่ 3 เขียนโปรแกรมถามหา ค่า x หรือ ตัวตั้ง
  1. เมื่อโปรแกรมทำงานจะแสดงกล่องข้อความให้ป้อนข้อมูล และข้อมูลจะเก็บในตัวแปร answer ดังนั้นขั้นตอนต่อไปจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดค่านี้ให้กับตัวแปร x โดยเลือกบล็อกคำสั่ง Set sum to 0 ซึ่งอยู่ในกลุ่มคำสั่งของข้อมูล แล้วคลิกเมาส์เปลี่ยนให้เป็นตัวแปร x ดังภาพ
ตั้งค่าคำตอบที่ได้ ให้เป็นตัวแปร x
รูปที่ 4 ตั้งค่า ให้เป็นตัวแปร x
  1. กำหนดค่า x ให้เป็น answer ซึ่งเป็นคำตอบของการถามด้วยคำสั่ง ask what is your name? and wait โดยเลือกกลุ่มคำสั่ง Sensing แล้วนำบล็อกคำสั่ง answer  มาวาง ดังภาพ
ตั้งค่าคำตอบที่ได้ ให้เป็นตัวแปร x
รูปที่ 5 ตั้งค่าคำตอบที่ได้ ให้เป็นตัวแปร x
  1. นำบล็อกคำสั่ง   ask what is your name? and wait   และ  Set x to answer มาวาง จากนั้นกำหนดค่าให้กับตัวแปร y เป็น y = และ y ดังภาพ
เขียนโปรแกรมให้ถามค่า ตัวแปร y และตั้งค่าคำตอบ y
รูปที่ 6 เขียนโปรแกรมให้ถามค่า ตัวแปร y และตั้งค่าคำตอบ y
  1. กำหนดค่าให้กับตัวแปร sum โดยนำข้อมูลของตัวแปร x กับตัวแปร y มาคูณกัน จากนั้นเลือกคำสั่งตัวดำเนินการในกลุ่ม Operators แล้วเลือกบล็อกคำสั่ง   มาวาง ดังภาพ
ตั้งค่าประมวลผล โดยให้ x-y ลากบล็อก โอเปรเรชั่น มาวางเพื่อรอประมวลผล
รูปที่ 7 ตั้งค่าประมวลผล โดยให้ x*y ลากบล็อก โอเปรเรชั่น มาวางเพื่อรอประมวลผล
  1. กำหนดให้คูณค่าในตัวแปร x และ y โดยเลือกกลุ่มคำสั่ง Variables แล้วนำตัวแปร  x และ  y  มาวางในบล็อกคำสั่ง ดังภาพ
นำตัวแปร x และ y มาวาง โดย ตัวแปร x เป็นตัวตั้ง และ ตัวแปร y เป็นตัวลบ
รูปที่ 8 นำตัวแปร x และ y มาวาง
  1. เขียนโปรแกรมให้แสดงค่าตัวแปร sum ที่คำนวณได้ โดยนำบล็อกคำสั่ง say Hello มาวาง โดยนำตัวแปร sum มาวางในบล็อกคำสั่ง ดังภาพ
เขียนโปรแกรมให้แสดงผลการคำนวณ x-y โดยให้พูดผลลัพธ์ ตัวแปร sum
รูปที่ 9 เขียนโปรแกรมให้แสดงผลการคำนวณ x*y โดยให้พูดผลลัพธ์ ตัวแปร sum ภาษาคอมพิวเตอร์
รูปที่ 10 เขียนโปรแกรมให้แสดงผลการคำนวณ x*y โดยให้พูดผลลัพธ์ ตัวแปร sum ภาษาไทย
  1. ลองรันโปรแกรม จะพบว่า แมวจะแสดงข้อความ x = พร้อมทั้งมีกล่องสำหรับป้อนข้อมูล แล้วทดลองป้อนค่า 6 ลงไป แล้วกดปุ่ม Enter ที่แป้นพิมพ์ ดังภาพ
แสดงผลลัพธ์ เมื่อ กรอกตัวเลข ผ่านตัวแปร x
รูปที่ 11 แสดงผลลัพธ์ เมื่อ กรอกตัวเลข ผ่านตัวแปร x
  1. ป้อนค่า y เป็น 3 เมื่อโปรแกรมทำงานจะนำ 6 และ 3 มาลบกัน แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ใน sum โดยโปรแกรมจะแสดงข้อมูลออกมา ดังภาพ
รูปที่ 12 แสดงผลลัพธ์ เมื่อ กรอกตัวเลข ผ่านตัวแปร y
รูปที่ 13 แสดงผลลัพธ์ เมื่อ ประมวลผล การลบ ผ่านตัวแปร sum
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1563 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.