การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การหาร) ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การหาร) แล้ว นักเรียนบอกได้ว่า

การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การหาร) จะต้องทำการประกาศตัวแปรไว้สำหรับใช้เก็บข้อมูลที่รับเข้าไปประมวลผล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การหาร)

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลมักมีการประกาศตัวแปร สำหรับเก็บข้อมูลที่รับเข้าไปประมวลผล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล
ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการให้คอมพิวเตอร์รับตัวเลขสองค่าจากแป้นพิมพ์เข้ามาหารกัน แล้วแสดงผลลัพธ์ค่าแรกที่รับเข้าไปอาจเก็บไว้ใน x ค่าที่ของเก็บไว้ใน y จากนั้นนำทั้งสองค่ามาหารกันแล้วเก็บไว้ในตัวแปรชื่อ sum เพื่อใช้สำหรับแสดงผล เราสามารถเขียนอัลกอริทึมเป็นข้อความ ได้ดังนี้

เริ่มต้น
1. ประกาศตัวแปร x, y และ Sum
2. รับค่าแรกเก็บใน x
3. รับค่าที่สองเก็บใน y
4. นำ x หารกับ y แล้วเก็บไว้ใน sum
5. แสดงผล Sum
จบ

การเขียนโปรแกรมลักษณะนี้จะต้องประกาศตัวแปรขึ้นมา 3 ตัว แล้วนำมาประมวลผล โดยทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เปิดโปรแกรม Scratch เลือกชุดคำสั่งสคริปต์ แล้วเลือกข้อมูล
  2. ประกาศตัวแปรโดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Variables
  3. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง ให้สร้างตัวแปรใหม่ ให้ตั้งชื่อเป็น x แล้วคลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK
สร้างตัวแปร
รูปที่ 1 สร้างตัวแปร x
  1. ทำซ้ำโดยประกาศตัวแปรชื่อ y และ sum จากนั้นโปรแกรมจะแสดงรายชื่อตัวแปรทั้งหมด และมีค่าเริ่มต้นเป็น 0 พร้อมทั้งแสดงค่าของตัวแปรไว้มุมบนซ้ายของโปรแกรม ดังภาพ
 สร้างตัวแปร y,sum
รูปที่ 2 สร้างตัวแปร y และ sum
  1. การรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ สามารถใช้บล็อกคำสั่ง ask what is your name? and wait มาใช้งานได้ เมื่อมีการพิมพ์ข้อมูลเข้าไป ข้อมูลจะเก็บในตัวแปร answer เสมอ ลากบล็อกคำสั่ง ask what is your name? and wait  มาวาง ดังภาพ แล้วพิมพ์ข้อความให้โปรแกรมถามเป็น x =
เขียนโปรแกรมถามหา ค่า x หรือ ตัวตั้ง
รูปที่ 3 เขียนโปรแกรมถามหา ค่า x หรือ ตัวตั้ง
  1. เมื่อโปรแกรมทำงานจะแสดงกล่องข้อความให้ป้อนข้อมูล และข้อมูลจะเก็บในตัวแปร answer ดังนั้นขั้นตอนต่อไปจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดค่านี้ให้กับตัวแปร x โดยเลือกบล็อกคำสั่ง Set sum to 0 ซึ่งอยู่ในกลุ่มคำสั่งของข้อมูล แล้วคลิกเมาส์เปลี่ยนให้เป็นตัวแปร x ดังภาพ
ตั้งค่าคำตอบที่ได้ ให้เป็นตัวแปร x
รูปที่ 4 ตั้งค่า ให้เป็นตัวแปร x
  1. กำหนดค่า x ให้เป็น answer ซึ่งเป็นคำตอบของการถามด้วยคำสั่ง ask what is your name? and wait โดยเลือกกลุ่มคำสั่ง Sensing แล้วนำบล็อกคำสั่ง answer  มาวาง ดังภาพ
ตั้งค่าคำตอบที่ได้ ให้เป็นตัวแปร x
รูปที่ 5 ตั้งค่าคำตอบที่ได้ ให้เป็นตัวแปร x
  1. นำบล็อกคำสั่ง   ask what is your name? and wait   และ  Set x to answer มาวาง จากนั้นกำหนดค่าให้กับตัวแปร y เป็น y = และ y ดังภาพ
เขียนโปรแกรมให้ถามค่า ตัวแปร y และตั้งค่าคำตอบ y
รูปที่ 6 เขียนโปรแกรมให้ถามค่า ตัวแปร y และตั้งค่าคำตอบ y
  1. กำหนดค่าให้กับตัวแปร sum โดยนำข้อมูลของตัวแปร x กับตัวแปร y มาหารกัน จากนั้นเลือกคำสั่งตัวดำเนินการในกลุ่ม Operators แล้วเลือกบล็อกคำสั่ง   มาวาง ดังภาพ
ตั้งค่าประมวลผล โดยให้ x-y ลากบล็อก โอเปรเรชั่น มาวางเพื่อรอประมวลผล
รูปที่ 7 ตั้งค่าประมวลผล โดยให้ x*y ลากบล็อก โอเปรเรชั่น มาวางเพื่อรอประมวลผล
  1. กำหนดให้หารค่าในตัวแปร x และ y โดยเลือกกลุ่มคำสั่ง Variables แล้วนำตัวแปร  x และ  y  มาวางในบล็อกคำสั่ง ดังภาพ
นำตัวแปร x และ y มาวาง โดย ตัวแปร x เป็นตัวตั้ง และ ตัวแปร y เป็นตัวลบ
รูปที่ 8 นำตัวแปร x และ y มาวาง
  1. เขียนโปรแกรมให้แสดงค่าตัวแปร sum ที่คำนวณได้ โดยนำบล็อกคำสั่ง say Hello มาวาง โดยนำตัวแปร sum มาวางในบล็อกคำสั่ง ดังภาพ
เขียนโปรแกรมให้แสดงผลการคำนวณ x-y โดยให้พูดผลลัพธ์ ตัวแปร sum
รูปที่ 9 เขียนโปรแกรมให้แสดงผลการคำนวณ x*y โดยให้พูดผลลัพธ์ ตัวแปร sum ภาษาคอมพิวเตอร์
รูปที่ 10 เขียนโปรแกรมให้แสดงผลการคำนวณ x/y โดยให้พูดผลลัพธ์ ตัวแปร sum ภาษาไทย
  1. ลองรันโปรแกรม จะพบว่า แมวจะแสดงข้อความ x = พร้อมทั้งมีกล่องสำหรับป้อนข้อมูล แล้วทดลองป้อนค่า 6 ลงไป แล้วกดปุ่ม Enter ที่แป้นพิมพ์ ดังภาพ
แสดงผลลัพธ์ เมื่อ กรอกตัวเลข ผ่านตัวแปร x
รูปที่ 11 แสดงผลลัพธ์ เมื่อ กรอกตัวเลข ผ่านตัวแปร x
  1. ป้อนค่า y เป็น 3 เมื่อโปรแกรมทำงานจะนำ 6 และ 3 มาลบกัน แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ใน sum โดยโปรแกรมจะแสดงข้อมูลออกมา ดังภาพ
รูปที่ 12 แสดงผลลัพธ์ เมื่อ กรอกตัวเลข ผ่านตัวแปร y
รูปที่ 13 แสดงผลลัพธ์ เมื่อ ประมวลผล การลบ ผ่านตัวแปร sum
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวทางสร้างรายได้ด้วย Google AdSense จาก www.kruaof.com

1. เพิ่มบทความที่ตอบโจทย์การค้นหา เน้นบทความที่เกี่ยวข้องกับ "การสอนเทคโนโลยี", "เทคนิคการสอน", "การใช้สื่อดิจิทัล", และ "แผนการจัดการเรียนรู้" ใช้คำค้น (Keyword) ที่คนครูหรือผู้สนใจด้านการศึกษา ค้นหาบ่อย เช่น: ตัวอย่างแผนการสอน การใช้ Canva/PowerPoint ทำสื่อการสอน วิธีออกแบบ Infographic ใช้เครื่องมือเช่น Google Trends, Ubersuggest หรือ AnswerThePublic เพื่อหาไอเดียและคำค้นที่เหมาะสม 2....

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

About ครูออฟ 1712 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.