บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในบ้าน ป.2

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่องบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว แล้วนักเรียนสามารถบอกได้ว่า

    บ้านเป็นสถานที่พักอาศัยที่มีสมาชิกในบ้านอาศัยอยู่ ถ้าสมาชิกทุกคนในบ้านทำตามบทบาทและหน้าที่ ของตนเองจะทำให้บ้านน่าอยู่อาศัย และสมาชิกในบ้านมีความสุข

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

บ้านเป็นสถานที่พักอาศัยที่มีสมาชิกในบ้านอาศัยอยู่ เพื่อนอนหลับพักผ่อน และทำกิจกรรมต่าง ๆแต่ละครอบครัวอาจมีจำนวนสมาชิกแตกต่างกัน ครอบครัวขนาดใหญ่จะมีสมาชิกหลายคน ครอบครัวขนาดเล็กจะมีสมาชิกน้อยกว่า สมาชิกในบ้านแต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน บทบาท หมายถึง การทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ หน้าที่ หมายถึง สิ่งที่ต้องทำด้วยความรับผิดชอบ ถ้าสมาชิกทุกคนในบ้านทำตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองจะทำให้บ้านน่าอยู่ และสมาชิกในบ้านมีความสุข

บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในบ้าน

พ่อ หรือ บิดาหรือ father

  1. อบรมสั่งสอน เลี้ยงดูลูกและดูแลทุกคนในบ้าน
  2. ทำงานหารายได้
  3. ซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้
  4. ทำสวน ตัดหญ้า รดน้ำต้นไม้
  5. ล้างรถยนต์

แม่ หรือ มารดา หรือ mother

  1. อบรมสั่งสอน เลี้ยงดูลูกและดูแลทุกคนในบ้าน
  2. ทำงานหารายได้
  3. ประกอบอาหาร
  4. ซ่อมแซมเสื้อผ้า

พี่ๆ น้อง

  1. ตั้งใจเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครู
  2. ซักเสื้อผ้า รีดเสื้อผ้า
  3. ถูบ้านทิ้งขยะ
  4. เช็ดกระจก
  5. กรอกน้ำ จัดโต๊ะอาหาร

ตัวเรา

  1. ตั้งใจเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครู
  2. ช่วยเหลือตนเองในการอาบน้ำ แต่งตัว หยิบจับ
  3. ใช้ช้อนส้อมและแก้วน้ำในการรับประทานอาหาร
  4. จัดเก็บของเล่น ของใช้ และอุปกรณ์การเรียน
  5. กวาดบ้าน
  6. ล้างจานล้างแก้วน้ำ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวทางสร้างรายได้ด้วย Google AdSense จาก www.kruaof.com

1. เพิ่มบทความที่ตอบโจทย์การค้นหา เน้นบทความที่เกี่ยวข้องกับ "การสอนเทคโนโลยี", "เทคนิคการสอน", "การใช้สื่อดิจิทัล", และ "แผนการจัดการเรียนรู้" ใช้คำค้น (Keyword) ที่คนครูหรือผู้สนใจด้านการศึกษา ค้นหาบ่อย เช่น: ตัวอย่างแผนการสอน การใช้ Canva/PowerPoint ทำสื่อการสอน วิธีออกแบบ Infographic ใช้เครื่องมือเช่น Google Trends, Ubersuggest หรือ AnswerThePublic เพื่อหาไอเดียและคำค้นที่เหมาะสม 2....

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

About ครูออฟ 1712 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.