การค้นหาข้อมูล ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การค้นหาข้อมูล แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรก ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วจะต้องใช้โปรแกรมสำหรับเปิดเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์   ซึ่งมีอยู่หลายโปรแกรม เช่น Internet Explorer หรือ Google Chrome ที่จะใช้ในการค้นหาข้อมูล

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การค้นหาข้อมูล

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประเภทของข้อมูล โดยเขียนบันทึกคำตอบของนักเรียน เป็นแผนภาพความคิดบนกระดาน ดังตัวอย่าง
  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนเคยใช้หรือรู้จักโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใดบ้างที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล
  2. นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น การสอบถามจากครูหรือผู้ปกครอง และห้องสมุด
  3. นักเรียนสังเกตและวิเคราะห์สัญลักษณ์โปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล และโปรแกรมที่ไม่ใช้ในการค้นหาข้อมูล แล้วนำรูปภาพไปใส่ในช่องตารางตามประเภทของโปรแกรม

โปรแกรมใดที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล

โปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลโปรแกรมที่ไม่ใช้ในการค้นหาข้อมูล
  1. นักเรียนร่วมกันสังเกตและวิเคราะห์การเข้าใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ดังตัวอย่าง
  1. นักเรียนร่วมกันสังเกตและวิเคราะห์หน้าเว็บไซต์ของเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล จากนั้นเขียนส่วนประกอบของการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ ดังตัวอย่าง
ภาพที่ 1 โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer
ภาพที่ 2 โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome
  1. นักเรียนวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้ปกครอง ครูหรือเพื่อน ๆ ได้ โดยมีการค้นหาข้อมูล ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1        การค้นด้วยคำว่า ศาสตร์พระราชา ป้อนคำที่ต้องการสืบค้นลงไปจะปรากฏ ดังภาพ

เมื่อป้อนข้อมูลลงไปแล้ว คลิกเมาส์ที่ “ค้นหา” หรือกดคีย์ Enter โปรแกรมจะแสดงเว็บไซต์ต่าง ๆ  ออกมา ดังภาพ

ข้อมูลต่าง ๆ ที่สืบค้นได้มีอยู่มากมาย หากเราสนใจข้อมูลใดสามารถเลือกลิงก์ (link) ที่แสดงออกมาได้ โดยสามารถเปิดไปยังหน้าเว็บเพจหรือหน้าเว็บไซต์ใหม่ได้ทันที  แต่ถ้าต้องการเปิดในแท็บใหม่ ให้คลิกเมาส์ขวาลิงก์ที่ต้องการ โปรแกรมจะแสดงเมนูให้เลือก ดังภาพ

เราสามารถเลือกได้ เช่น เปิดหน้าเว็บเพจขึ้นมาเป็นแท็บใหม่ หรือเปิดขึ้นมาเป็นหน้าต่างใหม่ ดังภาพ

เมื่อได้ข้อมูลที่สนใจแล้ว หรือกำลังศึกษาในหน้าเพจต่าง ๆ ที่สนใจ ถ้าต้องการย้อนกลับไปยังหน้าก่อนหน้า สามารถทำได้โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  ย้อนกลับ ดังภาพ

ตัวอย่างที่ 2     ถ้ากำลังศึกษาเรื่องพลังงานทดแทนและสนใจพลังงานแสงอาทิตย์

ถ้าใช้คำค้นว่า “พลังงานทดแทน” สิ่งที่ได้จะเป็นความหมายกว้าง ๆ เกี่ยวกับพลังงานทดแทน แต่ถ้าระบุให้ตรงประเด็นว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” สิ่งที่ได้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พลังงานแสงอาทิตย์โดยตรง ดังภาพ

  • การใช้คำค้นแบบไม่เจาะจง
  • การใช้คำค้นแบบเจาะจง

ถ้าต้องการค้นหาเฉพาะภาพ สามารถค้นหาได้เช่นกัน โดยพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นหา แล้วคลิกเมาส์เลือก ค้นรูป สิ่งที่ได้จะปรากฏภาพที่เกี่ยวข้องขึ้นมา ดังภาพ

  • การค้นหาภาพบนเว็บไซต์ Google
  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ แล้วตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • นักเรียนจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการอย่างไรให้สะดวกและรวดเร็ว

สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล

การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเราจะได้ผลจากการค้นหามากมาย มีแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง การนำข้อมูลมาใช้งานควรพิจารณาด้วยว่าข้อมูลนั้นมาจากหน่วยงานใด เช่น การค้นหาเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ ลิงก์ที่ได้เป็นของสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย และเมื่อคลิกเมาส์เข้าไปในเว็บเพจยังแนะนำลิงก์ต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ให้เราเลือกอีกด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.