รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย  ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนการแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา

นักเรียนร่วมกันอ่านสถานการณ์ตัวอย่างที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ดังนี้

         สถานการณ์ตัวอย่าง
แบงค์ชอบนอนดูการ์ตูนและเล่นเกมตอนกลางคืน ทำให้นอนดึกเป็นประจำส่งผลให้แบงค์ตื่นสาย และเดินทางไปโรงเรียนไม่ทันเวลาเข้าเรียน โดนหักคะแนนความประพฤติแบงค์จึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยปรับเวลานอนให้เร็วขึ้น แล้วตื่นให้เช้ากว่าเดิม เพื่อไปโรงเรียนได้ทันเวลาเข้าเรียน           

  • จากสถานการณ์ ปัญหาคืออะไร
  • ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
  • ในสถานการณ์มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาดังนี้
    • ตอนนี้นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับอะไร
    • นักเรียนคิดว่าปัญหาดังกล่าวมีวิธีการแก้ปัญหาหรือไม่
    • นักเรียนเคยลองหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวหรือไม่
    • ถ้าเคย นักเรียนแก้ปัญหาดังกล่าวสำเร็จหรือไม่
  2. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหาว่ามีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง โดยส่งตัวแทนนักเรียน 1 คน ออกมาเขียนเป็นภาพความคิดบนกระดาน ดังนี้
  1. นักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหา จากบทความด้านล่าง
  2. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนว่ามีลักษณะอย่างไร โดยเขียนสรุปความคิดรวบยอดเป็นภาพความคิด แล้วตอบคำถาม ดังนี้
    • ระบุปัญหา เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาว่าต้องการอะไร ทราบอะไร
    • รวบรวมข้อมูล    เป็นการรวบรวมข้อมูล นำความรู้ที่มีอยู่หรือหาความรู้ เพิ่มเติมมาแก้ปัญหานั้น
    • วางแผนการแก้ปัญหา     เป็นการวางแผนออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งอาจมีหลายวิธี โดยเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเอง
    • แก้ปัญหา  เป็นการเริ่มแก้ปัญหาตามวิธีการที่เลือก
    • ทดสอบและประเมินผล    เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ว่าสามารถแก้ปัญหาที่ต้องการได้หรือไม
    • ก่อนที่นักเรียนจะลงมือแก้ปัญหา นักเรียนทำอย่างไร
    • หลังจากที่นักเรียนลงมือแก้ปัญหาแล้ว นักเรียนทำอย่างไร
  1. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ตัวอย่างปัญหาพาเด็กน้อยไปขึ้นจรวดนักเรียนจะหาเส้นทางที่พาเด็กเดินทางผ่านด่านไปขึ้นจรวดได้อย่างไรให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด จากนั้นแต่ละกลุ่มร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้

สถานการณ์ตัวอย่าง
เด็กคนหนึ่งจะเดินทางผ่านด่านไปขึ้นจรวดที่อยู่อีกด้านหนึ่ง แต่การเดินทางนั้นจะต้องเสีย ค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในตาราง นักเรียนจะหาเส้นทางที่พาเด็กเดินผ่านไปได้อย่างไรโดยให้เสีย ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และการเดินทางนั้นจะต้องเดินทางขึ้นหรือลง ไปทางซ้ายหรือขวา ไม่สามารถเดินทางในแนวทแยงหรือแนวเฉียงได้

  • ปัญหาของสถานการณ์ดังกล่าวคืออะไร
  • ปัญหาดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนใดของขั้นตอนการแก้ปัญหา
  • จากสถานการณ์นี้ต้องรวบรวมข้อมูลอะไร
  • ขั้นวางแผนการแก้ปัญหามีวิธีการอย่างไร
  • ขั้นแก้ปัญหาของสถานการณ์เป็นอย่างไร
  • ขั้นทดสอบและประเมินผลของสถานการณ์เป็นอย่างไร
  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวอย่างปัญหา โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิดดังนี้
    • จากตัวอย่างพาเด็กน้อยไปขึ้นจรวด จงบอกจำนวนครั้งของด่านที่ต้องผ่าน
    • มีเส้นทางที่สั้นกว่านี้หรือไม่ ถ้ามีทำไมจึงไม่เลือกเส้นทางนั้น

สรุปความคิดรวบยอด

ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วยระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนการแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.