ข้อมูลและสารสนเทศ ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1 ข้อมูล

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ที่พบเจอ ซึ่งอาจจะได้มาจากการสังเกต การจดบันทึก สอบถาม การสัมภาษณ์ เช่น ชื่อ เพศ อายุ คะแนนสอบ

1.1 ประเภทของข้อมูล

ข้อมูลสามารถแม่งออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะของข้อมูล ดังนี้

1.2 ลักษณะของข้อมูลที่ดี

การประเมินข้อมูลที่ได้รับมาว่ามีลักษณะดีหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูลที่ดี 5 ประการ ดังนี้

  1. ถูกต้องและเชื่อถือได้
    ข้อมูลที่ดีจะต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่มีความ น่าเชื่อถือ เช่น ผู้เชี่ยวชาญ เว็บไซต์ หน่วยงานของรัฐ
  2. มีความสอดคล้องกัน
    การหาข้อมูลจากหลายๆแหล่ง ข้อมูลควรจะมีข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกัน มีเนื้อหาที่สอดคล้องกันและสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้
  3. ตรงตามความต้องการ
    ข้อมูลที่ดีต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้และไม่ต้องปรับใลน์กับข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ เนื่องจากจะทำให้เสียเวลาในการค้นหาและสิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
  4. ทันสมัย
    ข้อมูลที่ดีควรจะเป็นข้อมูลที่ทันสมัยหรือเป็นข้อมูลปัจจุบันเพราะบางอย่างถ้ากล่าวเกินไปก็จะไม่สามารถนำมาใช้ได้
  5. สมบูรณ์ครบถ้วน
    ข้อมูลที่ดีจะต้องมีรายละเอียดสมบูรณ์ครบถ้วนตามความต้องการของผู้ใช้โดยต้องมีรายละเอียดครอบคลุมทุกด้านรวมถึงข้อดีและข้อเสียของข้อมูลด้วย

1.3 ประโยชน์ของข้อมูล

ข้อมูลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายด้านดังนี้

  1. ด้านการตัดสินใจหรือแก้ปัญหา
    การรับรู้ข้อมูลต่างๆมากมายจะช่วยให้การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหาถูกต้องและเหมาะสมเช่นการเลือกเส้นทางในการเดินทางที่สั้นที่สุดหรือรวดเร็วที่สุด การเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก
  2. ด้านการติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆเช่นข้อมูลเสียงข้อมูลภาพข้อมูลตัวอักขระซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจได้ตรงกันเช่น การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การติดต่อสื่อสารผ่านโปรแกรมสนทนา
  3. ด้านการค้าหรือธุรกิจ บริษัทที่มีข้อมูลมากกว่าย่อมได้เปรียบเนื่องจากข้อมูลสามารถประมวลผลเป็นสารสนเทศที่จะช่วยให้บริษัทสามารถวางแผนหรือกลยุทธ์ทางการค้าได้
  4. ด้านการเรียนหรือการทำงาน การพัฒนาตนเองช่วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆจะทำให้ฉลาดรอบรู้และสามารถเรียนหนังสือหรือทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม การศึกษาข้อมูลใน ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จะทำให้ทราบแนวทางที่จะช่วยพัฒนาชุมชนได้เช่น มีข้อมูลเรื่องอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน จึงทำการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

2 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล หมายถึง ต้นกำเนิดของข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นหนังสืออินเทอร์เน็ตบุคคลหรือสถานที่ที่สามารถให้ข้อมูลแก่เราได้

2.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ 2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลแก่เราโดยตรงซึ่งเราอาจจะได้รับข้อมูลจากการพบเห็นสิ่งต่างๆจากการสังเกตหรือการสำรวจข้อมูลด้วยตนเอง

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการเรียบเรียงข้อมูลของผู้อื่นแล้วเรานำ ข้อมูลนั้นมาใช้ทันทีโดย ที่ไม่ต้องสอบถามสังเกตุหรือหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลด้วยตนเองเช่นอินเทอร์เน็ต หนังสือวิทยุ โทรทัศน์

2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการดำเนินการโดยวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้สารสนเทศโดยการรวบรวมข้อมูลมี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1 กำหนดวัตถุประสงค์และความต้องการของสิ่งที่สนใจ 2 วางแผนและพิจารณาเลือกแหล่งข้อมูล 3 กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล 4 ค้นหาและรวบรวมข้อมูล 5 สรุปผลข้อมูล

1 กำหนดวัตถุประสงค์และความต้องการของสิ่งที่สนใจ เป็นขั้นตอนในการเลือกวิธีการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม เช่น การเลือกวิธีการสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

2 การวางแผนและพิจารณาเลือกแหล่งข้อมูล เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์ว่ามีแหล่งข้อมูลใดบ้างที่มีข้อมูลที่เราต้องการโดยจะต้องเลือกจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เว็บไซต์หน่วยงานของรัฐ

3 กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่จะทำให้เราทราบขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องการค้นหา ว่าต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ต้องการเก็บ รวบรวมข้อมูลเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงแบ่งหัวข้อในการเก็บรวบรวมได้แก่ ประเภทของข้อมูล ลักษณะข้อมูลที่ดี และประโยชน์ของข้อมูล

4 ค้นหาและรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนในการลงมือปฏิบัติการค้นหาและรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการรวบรวมข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้
4.1 สังเกต สำรวจและจดบันทึก
4.2 การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.3 การทําแบบสอบถามหรือแบบทดสอบ
4.4 การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือข้อมูลที่อื่นรวบรวมไว้แล้ว

5 สรุปผลข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้ได้สารสนเทศโดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆมาพิจารณาเปรียบเทียบกัน แล้วทำการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่ต้องการเช่น สรุปผลข้อมูลที่รวบรวมไว้ โดยนำข้อมูลมาบันทึกลงในตารางเพื่อเปรียบเทียบและเรียงลำดับข้อมูลซึ่งข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลและได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เรียกว่า สารสนเทศ ซึ่งการนำเสนอสารสนเทศสามารถทำได้หลายวิธีเช่นการพูดรายงาน การจัดป้ายนิเทศ

2.3 การประมวลผลข้อมูล

การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลนำมาจัดกลุ่ม เรียงลำดับหรือคำนวณ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งตัวอย่างในการประมวลผลข้อมูลเช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการเรียงลำดับ การประมวลผลข้อมูลโดยวิธีการจัดกลุ่ม

การประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการเรียงลำดับ เช่น เก้าต้องการทราบจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ ซึ่ง เก้ามีข้อมูลคะแนนสอบกลางภาคของแต่ละวิชาดังนี้

วิชาภาษาไทย 54 คะแนน สังคมศึกษา 68 คะแนน คณิตศาสตร์ 72 คะแนน วิทยาศาสตร์ 75 คะแนนและภาษาอังกฤษ 47 คะแนน

เก้าจึงทำการประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการเรียงลำดับข้อมูลดังนี้

ลำดับที่วิชาคะแนน
1วิทยาศาสตร์75
2คณิตศาสตร์72
3สังคมศึกษา68
4ภาษาไทย54
5ภาษาอังกฤษ47

ลำดับที่ 1 วิชาวิทยาศาสตร์ได้ 75 คะแนน 2 คณิตศาสตร์ 72 คะแนน 3 สังคมศึกษา 68 คะแนน 4 ภาษาไทย 54 คะแนน 5 ภาษาอังกฤษ 47 คะแนน

จากการประมวลผลข้อมูลโดยวิธีการเรียงลำดับทำให้เก้าได้ข้อสรุปว่าในรายวิชาทั้ง 5 วิชา เก้ามีจุดเด่นในรายวิชาวิทยาศาสตร์มากที่สุดและมีคะแนนสอบกลางภาคสูงที่สุดคือ 75 คะแนนในขณะที่จุดด้อยของเก้าก็คือวิชาภาษาอังกฤษเพราะมีคะแนนสอบกลางภาคน้อยที่สุดคือ 47 คะแนน

2 การประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการจัดกลุ่ม เก้ามีภาพถ่ายอยู่จำนวนมากประกอบด้วยภาพสัตว์ภาพคนและภาพทิวทัศน์ซึ่งภาพดังกล่าวถูกเก็บปะปนกันไว้โดยไม่ได้ทำการจัดกลุ่มหรือแยกประเภททำให้ยากต่อการค้นหาและนำไปใช้ดังนั้น เก้าจึงนำมาประมวลผลข้อมูลภาพเหล่านั้นและวิธีการจัดกลุ่มโดยแบ่งภาพออกเป็นกลุ่มภาพสัตว์กลุ่มภาพคนกลุ่มภาพทิวทัศน์จากนั้นทำการแยกภาพที่ถูกเก็บปะปนกันให้ตรงกับประเภทของภาพและทำการจัดเก็บซึ่ง วิธีการดังกล่าวทำให้การค้นหาข้อมูลภาพได้รวดเร็วและง่ายขึ้น

จากการประมวลผลข้อมูลโดยวิธีการจัดกลุ่มทำให้ก้านได้ข้อสรุปว่าการทำภาพที่ปะปนกันมาแยกประเภทของภาพแล้วจัดกลุ่มภาพที่เป็นประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันจะทำให้การค้นหาข้อมูลภาพได้รวดเร็วและง่ายขึ้น

2.4 การสืบค้นข้อมูลโดยใช้อินเทอร์เน็ต

การค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตสามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการ search engine ได้ โดยการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การค้นหาข้อมูลโดยใช้ keyword การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่ง

1 การค้นหาข้อมูลโดยใช้ keyword เป็นวิธีการค้นหาข้อมูลโดยการระบุคำที่ต้องการค้นหาดังตัวอย่างเช่น 9 ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศจึงเข้าเว็บไซต์ www.google.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการ search engine และค้นหาข้อมูล โดยพิมพ์คำว่า ข้อมูลและสารสนเทศลงบนเว็บไซต์

2 การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่เป็นการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ที่ถูกจัดเอาไว้ตามบริการของ search engine เช่น บริการ search engine ของเว็บไซต์ Google มีการจัดหมวดหมู่ของการค้นหาเป็น ทั้งหมด Video แผนที่ ข่าวสาร ค้นรูป เพิ่มเติม

3 การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งเป็นการค้นหาข้อมูลจาก หลายๆเว็บไซต์ที่ให้บริการ search engine แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ

2.5 การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ข้อมูลที่เราได้รับมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆต้องทำการประเมินความน่าเชื่อถือเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยหลักในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์ ข้อมูลที่มีการระบุวัตถุประสงค์ในการจัดทำข้อมูลจะทำให้สามารถทราบสาเหตุของจัดทำข้อมูลได้

2 การอ้างอิง ข้อมูลที่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาจะช่วยให้สามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้

3 ผู้เขียน ข้อมูลที่มีการระบุชื่อผู้เขียนจะช่วยให้สามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้

4 เวลาข้อมูลที่มีการระบุช่วงเวลาในการจัดทำหรือเผยแพร่จะช่วยให้สามารถพิจารณาความทันสมัยของข้อมูลได้

5 แหล่งข้อมูล ข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เช่น ข้อมูลที่มาจากเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐที่มีความน่าเชื่อถือสูง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.