ครอบครัวที่อบอุ่น ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง ครอบครัวที่อบอุ่น แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การมีครอบครัวที่อบอุ่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสมบูรณ์ ทางด้านร่างกายและจิตใจ

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง ครอบครัวที่อบอุ่น

  1. นักเรียนร่วมกันสำรวจสมาชิกภายในครอบครัวของตนเองแล้วสนทนา โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • ในครอบครัวของนักเรียนมีสมาชิกทั้งหมดกี่คน ได้แก่ใครบ้าง
    • ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว นักเรียนมีหน้าที่อย่างไร
    • สมาชิกทุกคนในครอบครัวของนักเรียนเคยใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันหรือไม่และทำกิจกรรมใดบ้าง
    • ถ้าสมาชิกทุกคนในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างรักใคร่ปรองดอง นักเรียนจะรู้สึกอย่างไร
    • ถ้าสมาชิกทุกคนในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกัน นักเรียนจะรู้สึกอย่างไร
    • นักเรียนต้องการอยู่ในครอบครัวแบบใด เพราะเหตุใด
  2. นักเรียนศึกษาความรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของครอบครัวและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว จากหนังสือเรียน หรือ บทความข้างล่างนี้

ครอบครัว หมายถึง คนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์กันทางการแต่งงานทางสายเลือด ทางการรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และพ่อแม่บุญธรรมหรือความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิต สมาชิกในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกหรือพ่อกับลูก แม่กับลูก ปู่ย่ากับหลาน ตายายกับหลาน หรือผู้ปกครองกับเด็กแต่บางครอบครัวอาจมี ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ด้วย บางครอบครัวสมาชิกประกอบด้วย พ่อ ลูก และผู้ชายที่เป็นคู่ชีวิตของพ่อ หรือ แม่ ลูก และผู้หญิงที่เป็นคู่ชีวิตของแม่
การมีครอบครัวที่อบอุ่นนั้น สมาชิกในครอบครัวควรให้ความเคารพนับถือไว้วางใจกัน เด็กควรเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ที่อาวุโสกว่า มีความรักใคร่ เอื้ออาทรให้ความช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ความสำคัญของครอบครัว

การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับเพศ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ผลของการมีครอบครัวที่อบอุ่น

ผลของการมีครอบครัวที่อบอุ่น
  1. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวที่อบอุ่น โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • ครอบครัวที่อบอุ่นมีลักษณะอย่างไร  
    • ครอบครัวควรมีบทบาทหน้าที่ในการเตรียมตัวเด็กเข้าสู่วัยรุ่นอย่างไร
    • ในครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ผู้ปกครองควรปฏิบัติตนอย่างไร  
    • ในครอบครัวที่อบอุ่น ลูกควรปฏิบัติตนอย่างไร
    • ครอบครัวของนักเรียนเป็นครอบครัวที่อบอุ่นหรือไม่ อย่างไร
    • การมีครอบครัวที่อบอุ่นจะส่งผลต่อสมาชิกในครอบครัวอย่างไร
  2. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • ครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยจะมีความสุขมากกว่าครอบครัวที่มีฐานะยากจนใช่หรือไม่ อย่างไร
  3. นักเรียนวิเคราะห์สถานการณ์ที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถาม ดังนี้

สถานการณ์ที่ 1 เด็กหญิงปานวาดกำลังนั่งฟังผู้ปกครองอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนที่ดีอย่างเรียบร้อย

สถานการณ์ที่ 2 ผู้ปกครองปล่อยให้เด็กชายนาวินกับเด็กหญิงนาวิตารื้อสิ่งของโยนเล่นตามสบายโดยไม่ว่ากล่าวตักเตือน
ทำให้บ้านรก

  • ครอบครัวในสถานการณ์ที่ 1 ประกอบด้วยใครบ้าง
  • ครอบครัวในสถานการณ์ที่ 1 กำลังทำอะไร
  • ในขณะที่ผู้ปกครองกำลังอบรมสั่งสอนเด็กหญิงปานวาดปฏิบัติตนอย่างไร
  • เด็กหญิงปานวาดปฏิบัติตนได้เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
  • ถ้าสมาชิกในครอบครัวทุกครอบครัวปฏิบัติตนเหมือนครอบครัวในสถานการณ์ที่ 1 จะเป็นอย่างไร
  • ครอบครัวในสถานการณ์ที่ 2 ประกอบด้วยใครบ้าง
  • ครอบครัวในสถานการณ์ที่ 2 กำลังทำอะไร
  • ครอบครัวในสถานการณ์ที่ 2 ปฏิบัติตนได้เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
  • ถ้าสมาชิกในครอบครัวทุกครอบครัวปฏิบัติตนเหมือนครอบครัวในสถานการณ์ที่ 2 จะเป็นอย่างไร
  • นักเรียนอยากให้ครอบครัวของตนเองเป็นเหมือนครอบครัวในสถานการณ์ใด เพราะเหตุใด
  1. นักเรียนวาดภาพครอบครัวสุขสันต์ลงในกระดาษ A4 พร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม

สรุปสิ่งที่เข้าใจ

การมีครอบครัวที่อบอุ่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.