ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

พืชเป็นสิ่งมีชีวิต จึงมีการตอบสนองและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          พืชในบริเวณต่าง ๆ ของโลกมีลักษณะของราก ลำต้น ใบ เมล็ด แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้มันมีชีวิตและเจริญเติบโตในที่ต่าง ๆ ได้
          ในที่แห้งแล้งพืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ที่ใบและลำต้น

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร

  1. นักเรียนสังเกต สำรวจพืชรอบบริเวณโรงเรียน แล้วกระตุ้นนักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้
    • พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างไร
    • พืชทำอย่างไรจึงสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับมัน
  2. นักเรียนสังเกตต้นกระบองเพชร แล้วร่วมกันสนทนาและตอบคำถามสำคัญ ดังนี้
    • พืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
  3. นักเรียนร่วมกันคาดคะเนคำตอบ

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

  สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยพืชและสัตว์ สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เนื่องจากมีการปรับตัวให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

การปรับตัวของพืช

  พืชเป็นสิ่งมีชีวิต พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ต่าง ๆ กัน พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีบนบก เช่น มะม่วง กุหลาบ เข็ม พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ เช่น บัว จอก แหน พืชบางชนิดเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง เช่น กระบองเพชร ดังนั้น ถ้านำพืชมาปลูกในที่ที่ไม่เหมาะสม พืชอาจจะเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ หรืออาจตายได้

การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นการทำตัวให้กลมกลืนหรือจัดตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แปลกไปจากสิ่งแวดล้อมเดิม เพื่อช่วยให้สิ่งมีชีวิตรอดพ้นจากศัตรูและอันตรายต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตใดที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ก็จะถูกศัตรูรบกวนหรือล้มตายและสูญพันธุ์

  ในที่แห้งแล้ง พืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ที่ใบและลำต้น   พืชที่อาศัยอยู่ในน้ำมักมีลำต้นอวบ เช่น ผักตบชวา หรือมีส่วนที่ช่วยให้พืชลอยน้ำได้ เช่น ผักกระเฉดมีนวมหุ้ม

  1. นักเรียนแสดงความคิดเห็นก่อนทำกิจกรรม โดยร่วมกันตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม ดังนี้
    • กิจกรรมนี้ต้องการศึกษาเรื่องอะไร
  2. นักเรียนวิเคราะห์ และอภิปรายผลการทำกิจกรรมโดยร่วมกันตอบคำถาม หลังทำกิจกรรม ดังนี้
    • ฟองนํ้าในจานพลาสติกใบใดที่อุ้มนํ้าได้มากกว่าหรือสูญเสียนํ้าน้อยที่สุด เพราะเหตุใด
    • เพราะเหตุใด จึงตัดถุงพลาสติกใสให้เป็นรอยขาด
    • ฟองนํ้าในจานพลาสติกใบใดที่เปรียบได้กับใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่
    • สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
    • ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่จะเก็บน้ำได้มากกว่าใบพืชที่ไม่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่หรือไม่
    • ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ช่วยทำให้พืชปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้อย่างไร

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้

ฟองนํ้าที่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะชุ่มนํ้า ส่วนฟองนํ้าที่ไม่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะแห้งอย่างรวดเร็วเปรียบเหมือนใบพืชที่ขึ้นอยู่ในทะเลทรายจะมีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าให้กับสิ่งแวดล้อมทำให้ใบพืชเก็บรักษานํ้าไว้ได้

ความรู้เพิ่มเติม

พืชสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ยาวนาน  ในสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอาจเป็นไปในด้านการปรับตัว ในทางสรีรวิทยา เช่น ต้นกระบองเพชรอยู่ได้ดีในทะเลทราย

          การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะดำรงชีวิตอยู่ได้ดีในสภาวะแวดล้อมหนึ่งนั้นย่อมต้องมีการปรับตัวที่สอดคล้องกันในหลาย ๆ ด้านในด้านที่จะได้ผลที่ดีที่สุด

          การตอบสนองของพืชแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอันเนื่องมาจากการเจริญซึ่งเป็นไปอย่างช้า ๆ ส่วนมากเห็นไม่ชัดเจน และมีแบบแผนคล้ายคลึงกันแม้ในพืชต่างชนิดกัน เช่น การเอนเข้าหาแสงสว่างของพืช การเจริญของรากเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก การเจริญของลำต้นหนีแรงดึงดูดของโลก การตอบสนองที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การหุบใบของต้นไมยราบหรือต้นหยาดน้ำค้าง  การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในพืชแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ

          1.  การตอบสนองอันเนื่องมาจากการเติบโต ซึ่งเกิดจากความแตกต่างในอัตราการยืดของเซลล์ลำต้นในแต่ละด้าน

          2.  การตอบสนองที่ไม่เกี่ยวกับการเติบโต ซึ่งเกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเต่งของเซลล์ การตอบสนองแบบนี้มักจะเกิดขึ้นหลังการเติบโตเต็มที่แล้ว

          การตอบสนองอันเนื่องจากการเติบโต เกิดจากความแตกต่างในอัตราการยืดตัวของเซลล์ในแต่ละด้าน นอกจากการเอนเข้าหาแสงสว่างของพืชกับการเจริญเข้าหาแรงดึงดูดของโลก การโค้งลงของก้านใบ เกิดจากเซลล์ทางด้านบนของก้านใบขยายตัวเร็วกว่าเซลล์ทางด้านล่าง การทำมุมของกิ่งกับลำต้น เพื่อให้เกิดทรงพุ่มต่าง ๆ ของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในแต่ละท้องถิ่นก็จัดเป็นการตอบสนองสภาพแวดล้อม  เพื่อการเจริญของพืช

          สำหรับการตอบสนองสภาพแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการเติบโตของพืชนั้น มักจะพบอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น การหุบของใบไมยราบ หรือใบหยาดน้ำค้างในเวลากลางคืนและบานในเวลากลางวัน ในกรณีหุบและบานของใบไมยราบนี้ อาจเป็นผลการเปลี่ยนแปลงความดันของสารละลายในเซลล์ของใบ ซึ่งตอบสนองต่อแสง ถ้าความดันของสารในเซลล์ของใบสูง เซลล์ก็เต่งทำให้ใบบาน ดอกบานเย็น    ที่บานในช่วงเวลาเย็น การบานของพืชตระกูลถั่วในช่วงที่มีแสงแดด และหุบในเวลาที่ความเข้มของแสงจางลงหรือเวลามืด ก็เป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงจะเห็นได้ว่า การตอบสนองของพืชจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม เช่น ความเข้มของแสง แรงดึงดูดของโลกและอื่น ๆ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.