ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

พืชเป็นสิ่งมีชีวิต จึงมีการตอบสนองและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          พืชในบริเวณต่าง ๆ ของโลกมีลักษณะของราก ลำต้น ใบ เมล็ด แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้มันมีชีวิตและเจริญเติบโตในที่ต่าง ๆ ได้
          ในที่แห้งแล้งพืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ที่ใบและลำต้น

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร

  1. นักเรียนสังเกต สำรวจพืชรอบบริเวณโรงเรียน แล้วกระตุ้นนักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้
    • พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างไร
    • พืชทำอย่างไรจึงสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับมัน
  2. นักเรียนสังเกตต้นกระบองเพชร แล้วร่วมกันสนทนาและตอบคำถามสำคัญ ดังนี้
    • พืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
  3. นักเรียนร่วมกันคาดคะเนคำตอบ

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

  สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยพืชและสัตว์ สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เนื่องจากมีการปรับตัวให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

การปรับตัวของพืช

  พืชเป็นสิ่งมีชีวิต พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ต่าง ๆ กัน พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีบนบก เช่น มะม่วง กุหลาบ เข็ม พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ เช่น บัว จอก แหน พืชบางชนิดเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง เช่น กระบองเพชร ดังนั้น ถ้านำพืชมาปลูกในที่ที่ไม่เหมาะสม พืชอาจจะเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ หรืออาจตายได้

การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นการทำตัวให้กลมกลืนหรือจัดตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แปลกไปจากสิ่งแวดล้อมเดิม เพื่อช่วยให้สิ่งมีชีวิตรอดพ้นจากศัตรูและอันตรายต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตใดที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ก็จะถูกศัตรูรบกวนหรือล้มตายและสูญพันธุ์

  ในที่แห้งแล้ง พืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ที่ใบและลำต้น   พืชที่อาศัยอยู่ในน้ำมักมีลำต้นอวบ เช่น ผักตบชวา หรือมีส่วนที่ช่วยให้พืชลอยน้ำได้ เช่น ผักกระเฉดมีนวมหุ้ม

  1. นักเรียนแสดงความคิดเห็นก่อนทำกิจกรรม โดยร่วมกันตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม ดังนี้
    • กิจกรรมนี้ต้องการศึกษาเรื่องอะไร
  2. นักเรียนวิเคราะห์ และอภิปรายผลการทำกิจกรรมโดยร่วมกันตอบคำถาม หลังทำกิจกรรม ดังนี้
    • ฟองนํ้าในจานพลาสติกใบใดที่อุ้มนํ้าได้มากกว่าหรือสูญเสียนํ้าน้อยที่สุด เพราะเหตุใด
    • เพราะเหตุใด จึงตัดถุงพลาสติกใสให้เป็นรอยขาด
    • ฟองนํ้าในจานพลาสติกใบใดที่เปรียบได้กับใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่
    • สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
    • ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่จะเก็บน้ำได้มากกว่าใบพืชที่ไม่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่หรือไม่
    • ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ช่วยทำให้พืชปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้อย่างไร

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้

ฟองนํ้าที่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะชุ่มนํ้า ส่วนฟองนํ้าที่ไม่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะแห้งอย่างรวดเร็วเปรียบเหมือนใบพืชที่ขึ้นอยู่ในทะเลทรายจะมีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าให้กับสิ่งแวดล้อมทำให้ใบพืชเก็บรักษานํ้าไว้ได้

ความรู้เพิ่มเติม

พืชสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ยาวนาน  ในสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอาจเป็นไปในด้านการปรับตัว ในทางสรีรวิทยา เช่น ต้นกระบองเพชรอยู่ได้ดีในทะเลทราย

          การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะดำรงชีวิตอยู่ได้ดีในสภาวะแวดล้อมหนึ่งนั้นย่อมต้องมีการปรับตัวที่สอดคล้องกันในหลาย ๆ ด้านในด้านที่จะได้ผลที่ดีที่สุด

          การตอบสนองของพืชแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอันเนื่องมาจากการเจริญซึ่งเป็นไปอย่างช้า ๆ ส่วนมากเห็นไม่ชัดเจน และมีแบบแผนคล้ายคลึงกันแม้ในพืชต่างชนิดกัน เช่น การเอนเข้าหาแสงสว่างของพืช การเจริญของรากเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก การเจริญของลำต้นหนีแรงดึงดูดของโลก การตอบสนองที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การหุบใบของต้นไมยราบหรือต้นหยาดน้ำค้าง  การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในพืชแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ

          1.  การตอบสนองอันเนื่องมาจากการเติบโต ซึ่งเกิดจากความแตกต่างในอัตราการยืดของเซลล์ลำต้นในแต่ละด้าน

          2.  การตอบสนองที่ไม่เกี่ยวกับการเติบโต ซึ่งเกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเต่งของเซลล์ การตอบสนองแบบนี้มักจะเกิดขึ้นหลังการเติบโตเต็มที่แล้ว

          การตอบสนองอันเนื่องจากการเติบโต เกิดจากความแตกต่างในอัตราการยืดตัวของเซลล์ในแต่ละด้าน นอกจากการเอนเข้าหาแสงสว่างของพืชกับการเจริญเข้าหาแรงดึงดูดของโลก การโค้งลงของก้านใบ เกิดจากเซลล์ทางด้านบนของก้านใบขยายตัวเร็วกว่าเซลล์ทางด้านล่าง การทำมุมของกิ่งกับลำต้น เพื่อให้เกิดทรงพุ่มต่าง ๆ ของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในแต่ละท้องถิ่นก็จัดเป็นการตอบสนองสภาพแวดล้อม  เพื่อการเจริญของพืช

          สำหรับการตอบสนองสภาพแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการเติบโตของพืชนั้น มักจะพบอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น การหุบของใบไมยราบ หรือใบหยาดน้ำค้างในเวลากลางคืนและบานในเวลากลางวัน ในกรณีหุบและบานของใบไมยราบนี้ อาจเป็นผลการเปลี่ยนแปลงความดันของสารละลายในเซลล์ของใบ ซึ่งตอบสนองต่อแสง ถ้าความดันของสารในเซลล์ของใบสูง เซลล์ก็เต่งทำให้ใบบาน ดอกบานเย็น    ที่บานในช่วงเวลาเย็น การบานของพืชตระกูลถั่วในช่วงที่มีแสงแดด และหุบในเวลาที่ความเข้มของแสงจางลงหรือเวลามืด ก็เป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงจะเห็นได้ว่า การตอบสนองของพืชจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม เช่น ความเข้มของแสง แรงดึงดูดของโลกและอื่น ๆ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.