ทักษะการจัดการในการทำงาน ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง ทักษะการจัดการในการทำงาน แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

    ทักษะการจัดการในการทำงานเป็นความพยายามของบุคคลที่จัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาการศึกษา เรื่อง ทักษะการจัดการในการทำงาน

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับทักษะการจัดการในการทำงาน โดยการตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนรู้จักทักษะการจัดการในการทำงานหรือไม่
    • การทำความสะอาดบ้านจำเป็นต้องมีทักษะการจัดการในการทำงานหรือไม่ เพราะเหตุใด
  2. นักเรียนเล่าลำดับขั้นตอนในการทำความสะอาดห้องนอนของตนเองที่เคยปฏิบัติ
  3. นักเรียนร่วมกันศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักการ ทักษะการจัดการในการทำงาน จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น หนังสือเรียน อินเทอร์เน็ต

ทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน

การดูแลรักษาสมบัติภายในบ้านอย่างเป็นระบบ ควรมีทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน ดังนี้

ทักษะการจัดการในการทำงาน หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงานกลุ่มเพื่อให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการดังนี้

 1)   การวิเคราะห์งาน เป็นการพิจารณางานที่จะทำในเรื่องความยากง่ายของวิธีการทำงาน ระยะเวลาในการทำงาน   วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการทำงาน จำนวนคนที่จะใช้ทำงาน ความสามารถของคนที่จะทำงาน  แต่ละอย่างให้สำเร็จได้ดี เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการทำงาน

 2)   การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ กำหนดวิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ และ  เครื่องมือที่จะใช้งาน กำหนดระยะเวลาในการทำงาน จำนวนคนที่ทำงาน ระบุหน้าที่การทำงานของแต่ละคน   ตามความถนัดและความสามารถ เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายโดยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย  รวมทั้งมีความปลอดภัยในการทำงาน

3)   การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน เป็นการปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อลดความซํ้าซ้อน  ในการทำงาน

4)   การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจผลการปฏิบัติงานหรือผลงานที่ทำเสร็จแล้ว ว่าเรียบร้อย สำเร็จตรงตาม  เป้าหมายที่วางไว้หรือไม่  มีข้อบกพร่องอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ทักษะการทำงานร่วมกัน หมายถึง การทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นให้ทำงานอย่างมีกระบวนการตามขั้นตอน และฝึกการทำงานกลุ่ม รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม ฝึกทักษะในการฟัง พูด สรุปผลนำเสนอรายงานและมีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน งานบ้านที่ต้องอาศัยทักษะการทำงานร่วมกัน ได้แก่ งานทาสีรั้วบ้าน งานซ่อมแซมท่อประปา หรืองานครัว ซึ่งงานบ้านเหล่านี้ ต้องอาศัยสมาชิกในบ้านร่วมกันคิด วางแผน ปฏิบัติ และประเมินผลการทำงานร่วมกัน ต้องรู้จักการแบ่งหน้าที่กันทำตามความสามารถมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในบ้านได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ดังนั้น ทุกคนในบ้านจึงสลับกันเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี เพื่อให้งานบ้านเป็นที่พึงพอใจของสมาชิกทุกคนในบ้าน 

  1. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับทักษะการจัดการในการทำงาน โดยเขียนเป็นแผนภาพความคิด ดังตัวอย่าง
  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า โดยการตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • ทักษะการจัดการในการทำงานมีความสำคัญอย่างไร
  2. นักเรียนวางแผนการทำความสะอาดเครื่องเรือนภายในห้องเรียน 1 ชนิดโดยใช้ทักษะการจัดการตามกระบวนการทำงาน แล้วบันทึกลงในกระดาษ  ดังตัวอย่าง

การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้

การวิเคราะห์งาน

  • การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้เป็นงานที่ง่าย เพราะมีวิธีการทำงานไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย
  • ตรวจดูความสกปรกของเครื่องเรือนไม้ว่ามีความยากหรือง่ายในการทำความสะอาด และมีปริมาณความสกปรกมากหรือน้อย

    การวางแผนในการทำงาน

  • กำหนดเป้าหมายในการทำงาน เช่น เครื่องเรือนไม้สกปรก เนื่องจากฝุ่นละอองและมีรอยขูดขีด ดังนั้น เป้าหมายในการทำงาน คือ เครื่องเรือนไม้สะอาด ไม่มีรอยขูดขีด
  • กำหนดวิธีการทำงาน  1) ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก 2) ใช้ผ้าแห้งเนื้อนุ่มเช็ด ถ้ามีรอยขูดขีดให้ใช้ผ้าแห้งสะอาดชุบน้ำมันชักเงาเช็ดรอยขูดขีดนั้น
  • กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน ไม้กวาดขนไก่ ผ้าเนื้อนุ่ม น้ำมันชักเงา
  • กำหนดระยะเวลาในการทำงาน 30 นาที
  • กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำงาน ตนเอง

การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้ตามแผนการทำงานที่วางไว้

การประเมินผลการทำงาน ตรวจเครื่องเรือนไม้ว่าสะอาดหรือไม่ รอยขูดขีด ลบเลือนหรือไม่ ถ้ายังไม่เรียบร้อย จึงทำความสะอาดซ้ำอีกครั้ง

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน

ทักษะการจัดการในการทำงานเป็นความพยายามของบุคคลที่จัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.