ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การทำงานบ้านเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวได้ทำงานร่วมกัน ช่วยทำให้บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย และช่วยให้สมาชิกในครอบครัวรักใคร่สามัคคี สร้างนิสัยที่ดีต่อกัน งานบ้านที่สมาชิกทุกคน   ในครอบครัวต้องช่วยกันทำ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ งานบ้านที่ได้รับมอบหมาย และงานบ้านที่ไม่ได้รับมอบหมาย

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ

  1. นักเรียนสังเกตภาพสมาชิกในครอบครัวกำลังช่วยกันทำงานบ้าน แล้วร่วมกันสนทนาโดยตอบคำถาม ดังนี้
    • บุคคลในภาพกำลังทำอะไรบ้าง
    • งานใดบ้างที่นักเรียนเคยทำเหมือนกับบุคคลในภาพ
    • นักเรียนทำงานบ้านเองด้วยความเต็มใจหรือมีคนอื่นสั่งจึงจะลงมือทำ
    • ในครอบครัวของนักเรียนมีการแบ่งหน้าที่กันทำงานบ้านหรือไม่
    • หากมีการแบ่งหน้าที่กันทำงานบ้าน นักเรียนได้รับหน้าที่ใด
    • นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อได้ทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
    • การทำงานบ้านแทนสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้บ้านสะอาด แสดงถึงการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อใด
  1. นักเรียนร่วมกันศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต

ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ

งานบ้านที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่หัวหน้าครอบครัวหรือผู้ปกครองมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวทำตามความสนใจและความถนัด ซึ่งเหมาะสมกับวัยและความสามารถ

งานบ้านที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่สมาชิกในครอบครัวช่วยทำด้วยความสมัครใจ หรือช่วยทำแทนสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ

  1. นักเรียนระดมความคิดยกตัวอย่างงานบ้านที่เคยปฏิบัติร่วมกับสมาชิกในครอบครัว แล้ววิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ถ้าปฏิบัติและไม่ปฏิบัติเป็นแผนภาพความคิดลงในกระดาษสำหรับทำกิจกรรม
  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคน ในครอบครัวต้องช่วยกันทำ โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • เพราะเหตุใดนักเรียนจึงควรช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวทำงานบ้าน

สรุปความคิดรวบยอด

งานบ้านเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวได้ทำร่วมกัน ช่วยให้บ้านสะอาดเรียบร้อยน่าอยู่อาศัย ฝึกความมีระเบียบวินัย สมาชิกในครอบครัวเกิดความรักใคร่สามัคคีกัน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.