การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นมีเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมมากมาย โปรแกรมสแครช (Scratch) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นำมาฝึกเขียนโปรแกรมได้ง่าย โดยการออกแบบอัลกอริทึมแล้วนำบล็อกคำสั่งที่เกี่ยวข้องมาวางเพื่อให้โปรแกรมทำงาน

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม Scratch โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • โปรแกรม Scratch คืออะไร
  2. นักเรียนร่วมกันสังเกตภาพการเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch แล้วตอบคำถาม ดังนี้
    • จากภาพเป็นการเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch อย่างไร
  • นอกจากวิธีการเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch วิธีนี้แล้วมีวิธีการเข้าใช้งานอื่นอีกหรือไม่อย่างไร

  1. นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch จากแหล่ง การเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น การสอบถามจากครูหรือผู้ปกครอง และห้องสมุด

  1. นักเรียน สังเกตและวิเคราะห์หน้าต่างโปรแกรม Scratch ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยเขียนบันทึกคำตอบของนักเรียน
  1. นักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับกลุ่มบล็อกคำสั่งในโปรแกรม Scratch โดยเขียนบันทึกคำตอบของนักเรียนเป็นแผนภาพความคิด
  1. นักเรียนสังเกตและวิเคราะห์ภาพเกี่ยวกับกลุ่มบล็อกคำสั่งการเคลื่อนที่ของตัวละครและเวทีบนกระดาน แล้วตอบคำถาม ดังนี้
    • ภาพด้านซ้ายมือและขวามือต่างกันอย่างไร
  • เพราะเหตุใดภาพด้านซ้ายมือจึงมีบล็อกคำสั่งการเคลื่อนไหวของตัวละครและภาพด้านขวามือจึงไม่มี

  1. นักเรียนร่วมกันสังเกตและวิเคราะห์ภาพเกี่ยวกับการบอกตำแหน่งของตัวละครบนกระดาน จากนั้นตอบคำถาม ดังนี้
    •      เหตุใดตัวละครจึงอยู่ตรงกลางเวที
  1. นักเรียนวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับการเรียกกลุ่มคำสั่งเสียงกลองและการเรียกบล็อกคำสั่งควบคุม ดังนี้
    • บล็อกคำสั่งแต่ละคำสั่งจะรวมกลุ่มอยู่ในแถบโคดบล็อก (code blocks palette) ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ อยู่มากมายรวมกันเป็นหมวด ถ้านำเมาส์ไปคลิกที่เมนูในหมวดคำสั่ง โปรแกรมจะแสดงคำสั่งในหมวดนั้นออกมา เช่น ถ้าคลิกเมาส์ที่กลุ่มคำสั่งเสียง โปรแกรมจะแสดงคำสั่งออกมา ดังภาพ
  • ในโปรแกรมได้กำหนดเสียงต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้อย่างง่าย และถ้าคลิกเมาส์เลือกเสียงกลอง โปรแกรมจะมีเสียงกลองลักษณะต่าง ๆ ให้เลือกอีกด้วย สามารถใช้เมาส์คลิกหรือป้อนข้อมูลเป็นตัวเลขดังภาพ
  • ถ้าคลิกเมาส์เลือกกลุ่มคำสั่งควบคุม โปรแกรมจะแสดงคำสั่งควบคุมออกมา ซึ่งใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและตัวละคร เช่น ให้ทำงานเมื่อมีการคลิกเมาส์ให้ทำงานซ้ำ ๆ ให้หน่วงเวลารอดังภาพ
  • นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์บัตรคำเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม Scratch ให้ตัวละครเคลื่อนที่เสมือนจริงบนกระดาน จากนั้นนำบัตรคำมาเรียงลำดับการทำงานในอัลกอริทึม โดยเขียนบันทึกคำตอบของนักเรียนเป็นแผนภาพความคิดบนกระดาน ดังตัวอย่าง
  • นักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์ โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • การใช้งานโปรแกรม Scratch มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

สรุปความคิดรอบยอดเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch

การใช้งานโปรแกรม Scratch สามารถใช้งานได้ทั้งแบบออฟไลน์ คือ ใช้งานจากโปรแกรมที่ลงไว้ในคอมพิวเตอร์ และแบบออนไลน์ที่สามารถเข้าใช้งานได้จาก https://scratch.mit.edu ซึ่งในโปรแกรมจะมีเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาใช้ฝึกเขียนโปรแกรมได้ง่าย และในการที่จะเขียนโปรแกรมจะต้องทำการออกแบบอัลกอริทึมเสียก่อน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.