เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การแก้ปัญหา แล้วนักเรียนสามารถบอกได้ว่า
ในการดำรงชีวิตจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยปัญหาแต่ละปัญหามีความซับซ้อนไม่เท่ากัน ซึ่งจะต้องใช้เหตุผล เงื่อนไข กฎเกณฑ์ และวิธีการที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหานั้นให้สำเร็จ
เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การแก้ปัญหา
- นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตประจำวัน แล้วเขียนคำตอบของนักเรียนเป็นแผนภาพความคิดบนกระดาน ดังตัวอย่าง
- นักเรียนร่วมกันสังเกตแผนภาพความคิดและสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว
- นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหา จากการตอบคำถาม ดังนี้
- เมื่อนักเรียนเติบโตขึ้นและพบปัญหาเดิมซึ่งเกิดขึ้นอีกหรืออาจพบปัญหาใหม่นักเรียนจะมีวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าเดิมหรือไม่ อย่างไร
- นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การสอบถามจากครูหรือผู้ปกครอง และห้องสมุด
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกคิดแก้ปัญหาจากตัวอย่างการเดินทางของผึ้งไปเก็บน้ำหวานบนกระดาน ดังนี้
การเดินทางของผึ้งไปเก็บน้ำหวาน ถ้าต้องการให้ผึ้งเดินทางไปเก็บน้ำหวานที่ดอกไม้โดยผึ้งเดินทางไปข้างหน้า 1 ครั้ง จะเคลื่อนที่ไปได้ 1 ช่องตาราง การเดินทางของผึ้งจะต้องเป็น ดังนี้
แต่ถ้าเส้นทางซับซ้อนมากขึ้น การเดินทางของผึ้งจะมีเงื่อนไขที่ต้องพิจารณามากขึ้น ดังนี้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ภาพเกี่ยวกับการเดินทางของผึ้งไปเก็บน้ำหวานแล้วเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดาน ดังตัวอย่าง
สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาเป็นการหาวิธีหรือการทำงานนั้นให้สำเร็จ ปัญหาที่พบสามารถแก้ไขได้ง่ายหรือบางปัญหาอาจใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาช่วยอย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงการตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และควรเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมที่สุด
Leave a Reply