มารยาทในการรับประทานอาหาร

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใส หรืออาจตำหนี ดังนั้น เราควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพราะนอกจากจะรับประทานอาหารตามปกติในครอบครัวแล้ว เรายังใช้อาหารเป็นสื่อในการพบปะสังสรรค์ ดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น การมีความรู้เกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหารตามหลักสากล จะช่วยให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑ มารยาททั่วไปในการรับประทานอาหารตามหลักสากล

ในการรับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่น ควรจะปฏิบัติตนดังนี้

๑. ไม่ทำเสียงดังในขณะรับประทาน

๒. อาหารแต่ละคำควรตักให้เล็ก และไม่เลือกเฉพาะอาหารที่ชอบ

๓. ไม่ควรตำหนิรสชาติของอาหาร ควรรับประทานอาหารทุกชนิดที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร

๔. ไม่ควรบังคับให้แขกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินควร

๕. ควรเลือกเรื่องที่จะนำมาสนทนากับผู้รับประทานอาหารทุกครั้ง ไม่ควรตำหนิหรือว่ากล่าวสมาชิกในครอบครัวขณะรับประทานอาหาร

๖. ควรนั่งตัวตรง ไม่นำแขนขึ้นมาวางบนโต๊ะ และไม่ก้มศีรษะลงไปรับประทานอาหารจากจานเข้าปาก

๗. ไม่กระดิกเท้า หรือเคาะโต๊ะเป็นการทำความรำคาญให้แก่ผู้อื่น

๘. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

๙. ถ้ามีอาหารมาเสิร์ฟในชามที่มีฝาปิด ให้เปิดฝาลงไว้ในจาน ถ้าอุปกรณ์ใดที่ใช้ไม่เป็น ให้สังเกตผู้ที่นั่งด้านข้างแล้วทำตาม

๑๐. ไม่รับประทานอาหารมูมมาม หรือทำอาหารหกเลอะเทอะ

๒ มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

การรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ เป็นการรับประทานอาหารโดยให้ผู้รับประทานช่วยเหลือตนเอง มีการนำอาหารหลากหลายชนิดมาจัดวางเป็นจุด ๆ เพื่อให้ผู้รับประทานเลือกตักอาหารตามความพอใจ ขณะที่รับประทานอาหารอาจมีการสังสรรค์ เพื่อทำให้ประหยัดเวลาก็ได้

ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ควรปฏิบัติดังนี้

๑. ควรลุกไปตักอาหารเอง โดยยืนต่อแถวและอย่าให้เป็นภาระของผู้อื่น ไม่หยิบอาหาร ช้อนส้อม หรือตักอาหารแจกผู้อื่น แต่ละคนต้องช่วยเหลือตนเอง

๑. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง

๒. อย่าตักอาหารให้ล้นจาน

๓. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียงหนึ่งชิ้น จะหยิบเกินกว่าหนึ่งก็ต่อเมื่อผู้อื่นได้ครบแล้ว

๔. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด ถ้าไม่พอสามารถลุกเติมได้

๕. เมื่อรับประทานเสร็จต้องเขี่ยเศษอาหารในจาน และรวบช้อนส้อมให้เรียบร้อย

๖. กระดาษเช็ดมือไม่ควรใส่ในจานอาหาร เพราะจะทำให้ปลิว เก็บลำบาก ควรใช้จานวางทับไว้

๗. ถ้ามีการกำหนดให้เอาจานอาหารวางไว้ที่ใด เมื่อรับประทานเสร็จแล้วควรปฏิบัติตาม

๘. อย่าตักอาหารเผื่อผู้อื่น

๙. อาหารหวาน ควรตักเมื่อรับประทานอาคารคาวเสร็จแล้ว

๑๐. ไม่เบียดหรือแซงผู้อื่น ไม่ยื่นมือไปตักอาหารข้ามมือหรือแขน ควรคอยจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน แม้ว่าจะเป็นอาหารที่ชอบก็ตาม

3.มารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรป

โดยทั่วไปการรับประทานอาหารแบบยุโรป มี ๒ แบบ คือ แบบอเมริกัน ซึ่งจะรับประทานอาหารจากส้อมด้วยมือขวา โดยยกปลายส้อมขึ้นข้างบน ใช้ส้อมตักอาหาร และวางมีดไว้ริมจานเมื่อไม่ใช้ส่วนแบบยุโรป จะรับประทานอาหารจากส้อมด้วยมือซ้าย ปลายส้อมคว่ำลง และถือมีดไว้ด้วยมือขวา

การรับประทานอาหารแบบยุโรป จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ วางอยู่บนโต๊ะอาหาร ควรหยิบใช้ให้ถูกต้องดังนี้

๑) การใช้ผ้าเช็ดปาก ควรปฏิบัติดังนี้

๑. หยิบผ้าเช็ดปากคลี่แล้ววางบนตัก
๒. ใช้เพื่อซับอาหารที่ติดปาก ไม่ควรใช้เช็ดลิปสติกออก
๓. ถ้าผ้าตกระหว่างรับประทานอาหาร ให้พยายามหยิบโดยไม่รบกวนผู้อื่น
๔. ถ้าไม่จำเป็นต้องลุกออกไปไหนชั่วขณะ ให้วางไว้ที่เก้าอี้
๕. ผ้าที่ใช้แล้วไม่ต้องพับ ถ้าเลิกรับประทานให้วางผ้าไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือ

๒) การใช้ช้อน ส้อม มีด และแก้วน้ำ ควรปฏิบัติดังนี้
๑. ใช้ช้อน มีด ด้วยมือขวา ส้อมใช้มือซ้าย
๒. ใช้ช้อนตักซุปออกจากตัวและรับประทานด้านข้างช้อน
๓. ไม่ใช้มีดตักหรือจิ้มอาหารเข้าปาก
๔. แก้วน้ำให้หยิบด้านขวามือ
๕. ช้อน ส้อม มีด เมื่อเลิกใช้แล้วอย่าวางบนโต๊ะ ให้วางบนจานรองหรือบนจานอาคารคาวแทน

 

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com