เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม แล้วนักเรียนสามารถบอกได้ว่า
การเขียนโปรแกรมบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเขียนลำดับขั้นตอนผิดเรียงลำดับคำสั่งผิด การตรวจสอบอาจทำได้โดยการตรวจสอบผลลัพธ์ของการทำงานทีละขั้นตอน
เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
- นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม แล้วเขียนคำตอบเป็นแผนภาพความคิดบนกระดาน ดังตัวอย่าง
- นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม จากการตอบคำถาม ดังนี้
- เมื่อนักเรียนทดลองรันโปรแกรมแล้วไม่แสดงผลลัพธ์ตามที่ต้องการ นักเรียนจะทำอย่างไร
- นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การสอบถามจากครูหรือผู้ปกครอง และห้องสมุด
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์ภาพเส้นทางการเดินทางของผึ้งและขั้นตอนการทำงาน แล้วตอบคำถาม ดังนี้
- นักเรียนพบข้อผิดพลาดของโปรแกรมหรือไม่
- นักเรียนพบข้อผิดพลาดที่ตำแหน่งใด
- นักเรียนจะแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดอย่างไร
- นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดอย่างไร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ภาพการเดินทางของผึ้งไปเก็บน้ำหวานจากบล็อกคำสั่งแล้วตอบคำถาม ดังนี้
- นักเรียนพบข้อผิดพลาดของโปรแกรมหรือไม่
- นักเรียนพบข้อผิดพลาดที่ตำแหน่งใด และควรแก้ไขอย่างไร
- จากภาพ เป็นการเขียนโปรแกรมในลักษณะใด
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์บัตรภาพและบัตรคำสั่งการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง
สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมใด ๆ บางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งแล้วเราสะกดผิด หรือเขียนคำสั่งที่โปรแกรมไม่เข้าใจ หากตรวจสอบทีละคำสั่งแล้วแก้ไขให้ถูกต้องโปรแกรมก็จะทำงานต่อไปได้ หรือบางครั้งเขียนโปรแกรมไม่ผิดพลาด แต่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ต้องการสามารถหาข้อผิดพลาดหรือตำแหน่งที่ผิดพลาดได้ โดยการตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง
Leave a Reply