การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัว ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พ่อแม่ ผู้ปกครอง

  1. เป็นผู้นำของครอบครัว
  2. รับผิดชอบในการหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว
  3. ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว เช่น จัดหาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือสุขอนามัยของลูก
  4. แก้ไขปัญหาครอบครัวและเป็นที่พึ่งของสมาชิกในครอบครัว
  5. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
  6. อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี รวมทั้งชื่นชมและให้กำลังใจ
    ในเวลาที่เหมาะสม
  7. ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางการศึกษาของลูก
  8. คอยดูแลและปกป้องจากอันตราย แต่ไม่เป็นการทะนุถนอม
    มากเกินไปจนขาดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ลูกๆ

  1. ช่วยงานบ้านเท่าที่ตนเองจะทำได้
  2. มีความรับผิดชอบ ตั้งใจเรียนหนังสือ
  3. รู้จักอดออมและใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด
  4. มีความกตัญญูกตเวที (อ่านว่า กะ ตัน-ยู-กะ-ตะ-เวที)
  5. ช่วยดูแลญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในครอบครัว
  6. เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่
    ในครอบครัว

ปู่ ย่า ตา ยาย

  1. อบรมสั่งสอนลูกหลานให้เป็นคนดีของครอบครัวและสังคม
  2. ช่วยเหลืองานในครอบครัวเท่าที่จะทำได้
  3. ให้ความรักและดูแลลูกหลานให้ประพฤติตนเป็นคนดี
  4. ช่วยแก้ไขปัญหาในครอบครัวและเป็นที่พึ่งของลูกหลาน
  5. ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนในครอบครัว

ความรู้เพิ่มเติม

ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น และต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ผู้ปกครองอาจเป็นพ่อ แม่ ญาติคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่มีสิทธิดูแลเด็ก เช่น พ่อแม่บุญธรรม

สรุป

  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นผู้หารายได้เลี้ยงครอบครัว ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว อบรมสั่งสอนลูก ส่งเสริมการศึกษาและคอยดูแลปกป้องจากอันตราย
  • ลูกช่วยงานบ้านตั้งใจเรียนหนังสือ เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว
  • ปู่ย่า ตายายญาติผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนหลานให้เป็นคนดี เป็นที่พึ่งของลูกหลาน เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนในครอบครัว
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.