การใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีเบื้องต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

นักเรียนคิดว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีหรือไม่ เพราะอะไร และมีอุปกรณ์ใดอีกบ้างที่นักเรียนคิดว่าเป็นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี

คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ซึ่งอุปกรณ์เทคโนโลยี คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาแส่งเสริมการทำงานด้านข้อมูล เช่น กล้องดิจิทัล ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลที่เป็นรูปภาพลงในสื่อบันทึกข้อมูล สแกนเนอร์ ทำหน้าที่รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้เปลี่ยนเป็นข้อมูลรูปภาพ

นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดคอมพิวเตอร์ จึงมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านธุรกิจ การเลือกซื้อสินค้า เพราะสะดวก รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ด้านการศึกษา ใช้พิมพ์รายงาน นำเสนอผลงาน ทำสื่อการเรียนการสอน สามารถเข้าเรียนวิชาต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ค้นหาบทความ ข่าวสาร รูปภาพต่างๆ ด้านความบันเทิง สามารถอ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมรายการต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ และเล่นเกมเพื่อการศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะด้านต่างๆ และผ่อนคลายความเครียด

จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ (Output) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ สามารถแสดง ผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว

จอ CRT
จอ LCD
จอ LED

ซีพียู (Central Processing Unit) เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก CPU จะทำหน้าประมวลผล คำนวณและวิเคราะห์ผลชุดคำสั่งที่ส่งมาจากซอฟแวร์ทุกชนิดในระบบคอมพิวเตอร์ และยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบอีกด้วย

ซีพียู (CPU) เป็นอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามา แล้วแสดงผลออกไปยังจอมอนิเตอร์ ซีพียูจะทําหน้าที่คล้ายกับสมองของคน คือ เมื่อคนเราได้รับข้อมูลต่างๆสมองจะประมวลผลข้อมูลแล้วแสดงผลออกมาทางกิริยาท่าทาง หรือคําพูด เหมือนกับซีพียูที่จะประมวลผลข้อมูลแล้วแสดงผลออกมาทางจอมอนิเตอร์

คีย์บอร์ด (Keyboard) อุปกรณ์รับข้อมูลที่ใช้การเรียงตัวของปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์โดยปกติ แล้วคีย์บอร์ดใช้สำหรับพิมพ์ตัวหนังสือ หรือตัวเลขเข้าไปยังโปรแกรมต่าง ๆ

เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลเข้า ซึ่งการใช้งานในปัจจุบัน มีหลายแบบ มีทั้งแบบที่มีสาย และไม่มีสาย ซึ่งเมาส์ที่ไม่มีสาย เราเรียกว่า เมาส์อินฟราเรด และแบบมีลูกกลิ้งกับแบบมีแสง ซึ่งแบบมีแสงจะไม่มีลูกกลิ้งเราเรียกว่า ออปติคอล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com