ป.5
1.2.3 พุทธกิจสำคัญ
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อมนุษย์และต่อสังคมมากมายภารกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติ คือ การเผยแผ่คำสอนให้ผู้อื่นละเว้นความชั่วทำความดี และฝึกฝนตนเองให้หมดจากกิเลส การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า เป็นภารกิจที่พระองค์ทรงบำเพ็ญตลอด ๔๕ ปี โดยทรงปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำทุกวัน ตั้งแต่เช้ามืดจนหลังเที่ยงคืน เรียกว่า “พุทธกิจ” พุทธกิจ หมายถึง กิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติในแต่ละวัน สรุปได้ดังนี้ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ๕ อย่างนี้เป็นประจำทุกวัน ยกเว้นแต่ในช่วงเวลาที่เสด็จเดินทาง พุทธจริยา ๓ พุทธจริยา [ อ่านต่อ ]
1.2.2 โปรดพระพุทธบิดา (เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์)
หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงเสียพระทัยมาก เมื่อพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกประกาศพระพุทธศาสนา ในแคว้นมคธ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงมีพระบรมราชโองการให้อำมาตย์ ชื่อ กาฬุทายีไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ กาฬุทายีอำมาตย์ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังพระธรรมเทศนาเกิดความเลื่อมใสจนบรรลุธรรมและทูล ขออุปสมบท เมื่อได้อุปสมบทแล้วถึงเวลาที่เหมาะสมจึงกราบทูลเชิญพระพุทธเจ้า เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาที่กรุงกบิลพัสดุ [ อ่านต่อ ]
1.2.1 สรุปพุทธประวัติ
พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ณ ใต้ต้นสาละ ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ เมื่อพระชนมายุได้ ๗ วัน พระมารดาเสด็จสวรรคตเมื่อเจริญวัยได้ทรงศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ จนแตกฉาน และเมื่อพระชนมายุได้๑๖ พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา (พิมพา) มีพระโอรส พระนามว่าเจ้าชายราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จประพาสอุทยาน (สวน) นอกเมือง ได้ทอดพระเนต [ อ่านต่อ ]
1.1.4 การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย ด้านพัฒนาจิตใจ
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นหลักในการพัฒนา ด้านจิตใจ ได้แก่ หลักโอวาท ๓ หลักโอวาท ๓ คือ เว้นจาก 1) การทำความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ 2) การทำความดี และ 3) การทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ โอวาท ๓ เป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ หรือวันมาฆบูชา วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมี แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันที่มีการประชุมครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต และ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก
1.1.3 การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย ด้านพัฒนากายภาพและสิ่งแวดล้อม
พระพุทธศาสนามีคำสอนที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากาย พัฒนาจิต และพัฒนาสภาพแวดล้อม ให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชนผู้นับถือและปฏิบัติ พุทธศาสนิกชนได้นำหลักธรรมคำสอน วัฒนธรรมความเชื่อจากพระพุทธศาสนามาพัฒนาเป็นวิถีความเชื่อที่ถูกต้องดีงาม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม ความเป็นอยู่ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข หลักธรรมที่เป็นแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีหลายหลักธรรม ดังนี้
1.1.2 มรดกทางด้านจิตใจ
หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดเป็นมรดกทางความประพฤติ กลายเป็นวิถีไทย มรรยาทไทย และลักษณะนิสัยของคนไทยที่แสดงออกผ่านความเอื้ออาทร การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การรู้จักให้อภัย ความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี ความมีสัมมาคารวะ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข