สังคมศึกษา
ตรัสรู้ (บัณฑิต
วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกไปนอกเมือง และได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ก็เกิดความสลดพระทัยและคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเห็นนักบวชรูปหนึ่ง ซึ่งมีกิริยาสงบ เรียบร้อย ทรงเกิดความเลื่อมใส จึงทรงตัดสินพระทัย ออกผนวช (ผะ-หนวด หมายถึง บวช) เพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ เจ้าชายสิทธัตถะต้องตัดสินพระทัยจากพระนางยโสธรา และพระโอรสที่ทรงรักยิ่ง เพื่อเสด็จออกผนวช เมื่อถึงใกล้ฝั่งแม่น้ำอโนมาจึงทรงผนวช หลังจากทรงผนวชแล้วพระองค์แสวงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์ โดยการทรมาน (ทอ-ระ-ม [ อ่านต่อ ]
ประสูติ (เกิด)
พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ (สิด-ทัด-ถะ) ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ (สุด-โท-ทะ-นะ) และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ใต้ต้นสาละ ณ ลุมพินีวัน หลังจากประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต (สะ-หวัน-คด หมายถึง ตาย) พระเจ้าสุทโธทนะจึงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี (ปะ-ชา-บอ-ดี-โค-ตะ-มี) ผู้เป็นน้าดูแลเจ้าชายสืบต่อมา เมื่อเจริญวัยเจ้าชายได้รับการศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษา เมื่อพระชนมายุ (พระ-ชน-มา-ยุ หมายถึง อายุ) ๑๖ พรรษา [ อ่านต่อ ]
1.1.1 ความหมายและความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย ป.3
วันสำคัญ เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ
รัฐ ชุมชน หรือหน่วยงาน ก็จะมีการจัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้ประชาชน
หรือคนในสังคมได้ตระหนักและรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นด้วยความภาคภูมิใจและยึดมั่นในความดีงาม
1.2.6 สังเวชนียสถาน 4
สังเวชนียสถาน 4 หมายถึง สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 4 แห่ง ครอบคลุม 1) สถานที่ประสูติ 2) สถานที่ตรัสรู้ 3) สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ 4) สถานที่ปรินิพพาน 1. สถานที่ประสูติ พระพุทธเจ้าประสูติในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ที่ใต้ร่มไม้รังหรือต้นสาละ อยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และชานเมืองเทวทหะ มีเสาหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบันสังเวชนียสถานแห่งนี้อยู่ในประเทศเนปาล มีชื่อเรียกว่า รุมมินเด 2. สถานที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญขึ้น 15 [ อ่านต่อ ]
1.2.5 แจกพระบรมสารีริกธาตุ
หลังจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินารา ได้เก็บพระบรมสารีริกธาตุและจัดให้มีการสมโภชบูชาอย่างยิ่งใหญ่ตลอด ๗ วัน กษัตริย์จากแคว้นต่าง ๆ ๗ พระนคร ได้แต่งราชทูตและกองทัพมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากเจ้ามัลลกษัตริย์ เพื่อนำามาบรรจุบูชาไว้ที่พระนครของตน แต่เจ้าผู้ครองเมืองกุสินาราไม่ยอมให้ กองทัพทั้ง ๗ พระนครจึงประชิดติดเมืองกุสินารา เพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ก่อนที่จะเกิดสงคราม“โทณพราหมณ์” ผู้เป็นบัณฑิตและอาจารย์ของเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายได้เจรจาขอให้มีความสามั [ อ่านต่อ ]
1.2.4 การถวายพระเพลิง
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์และเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย เมื่อได้ทราบข่าวต่างก็ถือดอกไม้ของหอมนานาชนิดพากันมาบูชาพระพุทธสรีระอยู่ตลอด ๗ วัน วันที่ ๘ จึงมีพิธีถวายพระเพลิงในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ (วันอัฐมีบูชา) จากนั้นได้อัญเชิญพระพุทธสรีระแห่ขบวนไปทางทิศเหนือของเมืองถึง มกุฏพันธนเจดีย์ เมื่อพระมหากัสสปะ พร้อมพระสงฆ์บริวารได้ถวายบังคม พระพุทธสรีระแล้ว เพลิงทิพย์ก็เกิดขึ้น ด้วยอานุภาพของเทวดา เพลิงได้ลุก พวยพุ่งเผาพระพุทธสรีระจนมอดไหม้เหลือไว้แต่พระบรมสารีริกธาตุ
1.2.3 ปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาจนมั่นคงดีแล้ว พุทธบริษัทก็มีความรู้ที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวมั่นคงต่อไปได้ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ของเจ้ามัลลกษัตริย์เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี ในขณะที่ พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ตรัสโอวาทครั้งสุดท้าย (ปัจฉิมโอวาท) แก่เหล่าภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงบำาเพ็ญประโยชน์ แก่ตนและผู้อื่นให้ [ อ่านต่อ ]
1.2.2 ปัจฉิมสาวก
สุภัททปริพาชก เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานจึงได้ไปพบพระอานนท์เพื่อขอโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาบางประการ แต่พระอานนท์ทัดทานถึง ๓ ครั้งพระพุทธเจ้าทรงได้ยิน จึงตรัสแก่พระอานนท์ให้สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้า เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงเกิดความเลื่อมใสทูลขออุปสมบทโดยเหตุนี้สุภัททปริพาชกจึงเป็นปัจฉิมสาวกคือ สาวกองค์สุดท้ายที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า และบำาเพ็ญสมณธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด