สังคมศึกษา
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของนายไหฮองกับนางนกเอี้ยง และได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี เพื่อศึกษาหาความรู้จนเกิดความชำนาญในด้านภาษาต่าง ๆ หลังจากลาสิกขาจึงได้เข้ารับราชการจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) จึงถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่พร้อมที่จะสู้พม่าได้ พระยาตากจึงตัดสินใจพาทหารโจมตีฝ่าทัพพม่าไปตั้งตัวที่เมืองจันทบ [ อ่านต่อ ]
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ (อ่านว่า มอ-ระ-นะ-พาบ หมายถึง ตาย ใช้สำหรับพระสงฆ์) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เป็นผู้มีเมตตาสูง ศรัทธาในพระรัตนตรัย เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม กตัญญูต่อถิ่นกำเนิดและถิ่นที่อยู่อาศัย
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)
มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย) ในอดีตมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายต่างเมือง ระหว่างที่เดินผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง เสบียงอาหารและน้ำที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป พวกพ่อค้ารู้สึกหมดอาลัยและคิดว่าพวกตนคงจะต้องอดน้ำและอาหารตายกลางทะเลทรายเป็นแน่ แต่เป็นโชคดีของพวกพ่อค้าเพราะกลางทะเลทรายมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านให้ร่มเงา พวกพ่อค้าต่างพากันอาศัยพักพิงใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่นั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งมองเห็นน้ำซึมออกมาจากกิ่งทางด้านทิศตะวันออก จึงลองตัดปลายกิ่งออก ทันใดนั้น สายน้ำเย็นสะอาดก็ไหลออกมามากมาย พวก [ อ่านต่อ ]
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : อารามทูสกชาดก (ฉลาดในสิ่งไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสุข)
อารามทูสกชาดก (ฉลาดในสิ่งไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสุข) ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์กรุงพาราณสี วันหนึ่งมีงานมหรสพสมโภช (อ่านว่า มะ-หอ-ระ-สบ-สม-โพด) คนเฝ้าสวนซึ่งมีหน้าที่ดูแลอุทยานหลวงอยากไปเที่ยว แต่ห่วงว่าต้นไม้ที่เพิ่งปลูกไว้จะขาดน้ำ ถ้าตนไปเที่ยวก็จะไม่มีใครรดน้ำต้นไม้ แต่นึกขึ้นได้ว่ามีฝูงลิงอาศัยอยู่ในอุทยานหลวง จึงไปขอให้ลิงช่วยรดน้ำต้นไม้ให้ โดยเดินไปหาลิงที่เป็นจ่าฝูงแล้วกล่าวว่า “สองสามวันนี้ ฉันอยากไปเที่ยวจริง ๆ แต่กลัวจะไม่มีใครรดน้ำต้นไม้ที่เพิ่งปลูก ไม่ทราบว [ อ่านต่อ ]
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ : ปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปอย่างกว้างขวางยังดินแดนต่าง ๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษา เมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขะ) ณ ใต้ต้นสาละ เมืองกุสินารา ก่อนปรินิพพานทรงประทานปัจฉิมโอวาท (คำสอนครั้งสุดท้าย) แก่พระสงฆ์ว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ : ปฐมเทศนา
หลังจากตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตั้งพระทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาที่จะแสดงธรรมโปรดสัตว์โลก ทรงพิจารณาถึงผู้ที่จะเสด็จไปโปรดอย่างรอบคอบเพื่อเผยแผ่หลักธรรมที่ทรงตรัสรู้พระองค์ได้เสด็จไปยังอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (อ่านว่า ทำ-มะ-จัก-กับ-ปะ-วัด-ตะ-นะ-สูด) ว่าด้วยเรื่องอริยสัจ ๔ และมรรค ๘ ให้แก่ปัญจวัคคีย์ฟังในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ในครั้งนั้น โกณฑัญญะได้บรรลุพระโสดาบันและขออุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้มีพระรัตนตรัยครบสามปร [ อ่านต่อ ]