No Image

2.1.2 การทำงานขององค์ประกอบต่างๆในบอร์ด KidBright

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ในบอร์ด KidBright ประกอบด้วย
1. เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ใช้วัดค่าอุณหภูมิที่อยู่รอบๆ บอร์ด KidBright
2. จอแสดงผล LED ใช้แสดงผลตัวอักษร ข้อความ หรือ รูปภาพ
3. เซนเซอร์วัดแสง ใช้วัดปริมาณแสงที่อยู่รอบ ๆ บอร์ด KidBright
4. ช่องเสียบสายไมโครยูเอสบี ใช้เป็นช่องรับกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า และรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
5. ลำโพง เป็นแหล่งกำเนิดเสียงให้กับบอร์ด KidBright
6. คอนเนกเตอร์ เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับบอร์ดเสริมของ KidBright
7. พอร์ตยูเอสบี ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบยูเอสบี
8. สวิตช์ 1 ใช้ควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright
9. สวิตช์ 2 ใช้ควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright
10. สวิตช์รีเซ็ต ใช้รีเซ็ตเพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่ของบอร์ด
11. ช่องสัญญาณอินพุต 1-4 ใช้รับค่าสัญญาณอินพุตแบบดิจิทัลจากอุปกรณ์ภายนอกที่มาเชื่อมต่อ
12. ช่อสัญญาณเอาต์พุต 1-2 ใช้ส่งค่าเอาต์พุตแบบดิจิทัลจากบอร์ด KidBright ไปยังอุปกรณ์ภายนอกที่มาเชื่อมต่อ
13. นาฬิกาเรียลไทม์ ใช้เป็นอุปกรณ์บอกเวลาของบอร์ด KidBright ถ้าใส่แบตเตอรี่จะทำให้นาฬิกาเรียลไทม์เดินได้ตรงเวลา แม้ไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับบอร์ด KidBright
14. รางใส่แบตเตอรี่ ใส่แบตเตอรี่สำหรับเป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับนาฬิกาเรียลไทม์
15. ส่วนควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright บอร์ด KidBright ถูกควบคุมการทำงานโดยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ซึ่งมีฟังก์ชันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wifi และ Bluetooth

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

2.1.1 องค์ประกอบของบอร์ด Kidbright

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

บอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัว (Embeded board) สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็กที่ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) จอแสดงผล นาฬิกา ลำโพง และเซนเซอร์ต่าง ๆ
โดยบอร์ด KidBright จะทำงานตามคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นผ่านโปรแกรมสร้างชุดคำสั่งแบบบล็อก (Block-based programing)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

1.1.4 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้
การเขียนโปรแกรมแบบ Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะการนำ Block ของคำสั่งมาต่อๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ โดยใชวิธีการลากวาง (Drag and Drop) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

1.1.3 โครงสร้างผังงาน

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอน
ให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้
1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)
2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)
3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)
ซึ่ง การกำหนดโครงสร้างของผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

1.1.2 การออกแบบ FlowChart

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการวางแผนหรือออกแบบการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติตาม หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ง่าย โดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
และใช้ข้อความสั้น ๆ อธิบายข้อมูล ผลลัพธ์ คำสั่ง หรือจุดตัดสินใจของขั้นตอน และเชื่อมโยงขั้นตอนเหล่านั้น
ด้วยเส้นที่มีลูกศรชี้ทิศทางการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.1 รู้จักกับการเขียนโปรแกรม

19 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การเขียนโปรแกรม หมายถึง กระบวนการใช้ ภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูล และกำหนดขั้นตอนวิธีเพื่อใช้แก้ปัญหาตามที่ได้ออกแบบไว้ เกมคอมพิวเตอร์  Subway Surfers นักเรียนคิดว่า เกมคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนเล่น มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และมีวิธีการสร้างเกมอย่างไร มอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขวิธีการเล่นเกม Subway Surfers เกม Subway Surfers ที่เล่นบนคอมพิวเตอร์ ใช้วิธีการควบคุมตัวละครบนเกม โดยใช้แป้นพิมพ์ โดยกำหนดไว้ ดังนี้ เงื่อนไขในการเล่นเกมSubway Surfers เงื่อนไขในการเ [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

การเติม s es ที่คำกริยา present simple tense

23 กันยายน 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การเติม s es ที่คำกริยา ก็คล้ายกันกับการเติม  s es ที่ท้ายคำนาม เพื่อทำคำนามให้เป็นนามพหูพจน์ทุกประการ ยกเว้นท้ายกริยาที่ลงท้ายด้วย o เท่านั้นที่แตกต่างนิดหนึ่ง เพราะกริยาที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es อย่างเดียว ไม่เหมือนคำนามที่เติม s บ้าง es บ้าง หลักการเติม s es มีดังนี้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

หลักการเติม ed ที่ท้ายคำกริยา 

19 กันยายน 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หลักการเติม ed ที่ท้ายคำกริยา มี 5 ข้อ ดังนี้ 1.คำกริยาโดยทั่วไปเมื่อเปลี่ยนเป็นคำกริยาช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น 2.คำกริยาที่ลงท้ายด้วยeอยู่แล้ว ให้เติม d ได้ทันทีเช่น 3.คำกริยาที่เป็นคำพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และพยัญชนะตัวสะกดตัวเดียว ให้เติมตัวสะกดตัวท้ายเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติมedเช่น 4.คำกริยาที่มี 2 พยางค์ 4.1 ออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้นมีสระตัวเดียวลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียว ให้เติมตัวสะกดตัวท้ายเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติ [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ

14 สิงหาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ (Picture Superiority Effect) เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่กล่าวถึงความสามารถของความจำในการจดจำภาพถ่ายที่ดีกว่าการจดจำข้อความเปล่า ๆ หรือคำพูดเท่านั้น หลักการนี้เชื่อว่าความจำมีความแข็งแกร่งและยาวนานขึ้นเมื่อมีการใช้ภาพภายนอกเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของทฤษฎีการใช้บัตรภาพเป็นไปได้ก็เช่นการใช้ Flashcards ที่มีภาพด้วยข้อความ แทนการใช้ Flashcards ที่มีเพียงข้อความเท่านั้น การมองภาพหรือสัมผัสภาพในบัตรภาพสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางความจำได้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำและการเรียน [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

9 ข้อควรปฏิบัติของพลเมืองดิจิทัลยุคใหม่

14 สิงหาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เพราะโลกดิจิทัลขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว การเป็นพลเมืองบนสังคมออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบและพร้อมสร้างสรรค์เรื่องราวดีๆ คือสิ่งที่ทุกคนควรใส่ใจและปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 9 ด้าน ครอบคลุม (1) Digital Access (2) Digital Commerce (3) Digital Communication (4) Digital Literacy (5) Digital Etiquette (6) Digital Law (7) Digital Rights & Responsibilities (8) Digital Health & Wellness และ (9) Digital Security ซึ่งแต่ละด้านคืออะไร ครูออฟ จะกล่าวถึงความหมายสั้นๆ ให้ฟังกันนะครับ ที่มา https://w [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :