No Image

วิทยาศาสตร์ ป.4 หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว

12 พฤศจิกายน 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์คืออะไร กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีระเบียบ และเป็นขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีด้วยกันอยู่ 8 ทักษะได้แก่

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

3.1.2 คำสั่งควบคุมการทำงานของบอร์ด KidsBright

27 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

คำสั่งควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright ในรูปของบล็อก มีอยู่ 11 ส่วน ประกอบด้วย 1. พื้นฐาน (Basic Tab), 2. คณิตศาสตร์ (Math Tab), 3. ตรรกะ (Logic Tab), 4. วนรอบ (Loop Tab), 5. รอ (Wait Tab), 6. เสียงดนตรี (Music Tab),7. เซนเซอร์ (Sendor Tab), 8. เวลา (Real-Time Clock Tab), 9. ไอโอ (Comm Tab),10. ขั้นสูง (Advance Tab) และ 11. ไอโอที (Tab)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

3.1.1 รู้จักกับโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

โปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright IDE เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างชุดคำสั่งโดยใช้ Block Based Programming ซึ่งสามารถลากบล็อกชุดคำสั่ง มาเรียงต่อกันเพื่อควบคุมให้บอร์ด KidBright ทำงานตามลำดับที่กำหนด จากนั้น KidBright IDE จะทำการ Compile ชุดคำสั่งเป็น Code ที่เหมาะสม และส่งไปยังบอร์ด เมื่อบอร์ดได้รับคำสั่งจะทำงานตามขั้นตอนที่ชุดคำสั่งกำหนดไว้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

2.1.4 เซนเซอร์และการใช้งาน

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ในระบบสมองกลฝังตัว เซนเซอร์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณทางกายภาพต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ แสง เสียง การสัมผัส เป็นต้น และแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อใช้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการสั่งงานส่วนควบคุมแบบอัติโนมัติ หรือตรวจวัดข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูล
สำหรับบอร์ด KidBright มีเซนเซอร์ที่ติดตั้งมาบนบอร์ดพร้อมใช้งาน ประกอบด้วย เซนเซอร์วัดระดับ
ความเข้มแสง เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และสวิตช์กดติดปล่อยดับ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

2.1.3 หลักการทำงานของบอร์ด kidbright

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

บอร์ด KidBright จะทำงานตามคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นผ่านโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright IDE โดยการ ลากและวาง (Drag and Drop) บล็อกคำสั่งที่ต้องการ จากนั้น KidBright IDE จะ Compile และส่งชุดคำสั่งดังกล่าวไปที่บอร์ด KidBright เพื่อให้บอร์ดทำงานตามคำสั่ง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

2.1.2 การทำงานขององค์ประกอบต่างๆในบอร์ด KidBright

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ในบอร์ด KidBright ประกอบด้วย
1. เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ใช้วัดค่าอุณหภูมิที่อยู่รอบๆ บอร์ด KidBright
2. จอแสดงผล LED ใช้แสดงผลตัวอักษร ข้อความ หรือ รูปภาพ
3. เซนเซอร์วัดแสง ใช้วัดปริมาณแสงที่อยู่รอบ ๆ บอร์ด KidBright
4. ช่องเสียบสายไมโครยูเอสบี ใช้เป็นช่องรับกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า และรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
5. ลำโพง เป็นแหล่งกำเนิดเสียงให้กับบอร์ด KidBright
6. คอนเนกเตอร์ เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับบอร์ดเสริมของ KidBright
7. พอร์ตยูเอสบี ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบยูเอสบี
8. สวิตช์ 1 ใช้ควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright
9. สวิตช์ 2 ใช้ควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright
10. สวิตช์รีเซ็ต ใช้รีเซ็ตเพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่ของบอร์ด
11. ช่องสัญญาณอินพุต 1-4 ใช้รับค่าสัญญาณอินพุตแบบดิจิทัลจากอุปกรณ์ภายนอกที่มาเชื่อมต่อ
12. ช่อสัญญาณเอาต์พุต 1-2 ใช้ส่งค่าเอาต์พุตแบบดิจิทัลจากบอร์ด KidBright ไปยังอุปกรณ์ภายนอกที่มาเชื่อมต่อ
13. นาฬิกาเรียลไทม์ ใช้เป็นอุปกรณ์บอกเวลาของบอร์ด KidBright ถ้าใส่แบตเตอรี่จะทำให้นาฬิกาเรียลไทม์เดินได้ตรงเวลา แม้ไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับบอร์ด KidBright
14. รางใส่แบตเตอรี่ ใส่แบตเตอรี่สำหรับเป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับนาฬิกาเรียลไทม์
15. ส่วนควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright บอร์ด KidBright ถูกควบคุมการทำงานโดยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ซึ่งมีฟังก์ชันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wifi และ Bluetooth

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

2.1.1 องค์ประกอบของบอร์ด Kidbright

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

บอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัว (Embeded board) สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็กที่ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) จอแสดงผล นาฬิกา ลำโพง และเซนเซอร์ต่าง ๆ
โดยบอร์ด KidBright จะทำงานตามคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นผ่านโปรแกรมสร้างชุดคำสั่งแบบบล็อก (Block-based programing)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

1.1.4 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้
การเขียนโปรแกรมแบบ Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะการนำ Block ของคำสั่งมาต่อๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ โดยใชวิธีการลากวาง (Drag and Drop) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
No Image

1.1.3 โครงสร้างผังงาน

26 ตุลาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอน
ให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้
1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)
2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)
3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)
ซึ่ง การกำหนดโครงสร้างของผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
ธาตุและสารประกอบ

ธาตุกัมมันตรังสี

12 สิงหาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

กัมมันตรังสี คือ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของไอโซโทปที่ไม่เสถียร ไอโซโทปที่ไม่เสถียรมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างจากจำนวนโปรตอนมาก เช่น เรเดียม-226 มีนิวตรอน 138 อนุภาค มีโปรตอน 88 อนุภาค ธาตุกัมมันตรังสี คือ ไอโซโทปของธาตุที่แผ่รังสีออกมาได้ เนื่องจากเป็นไอโซโทปที่ไม่เสถียร ธาตุกัมมันตรังสีเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 83 ธาตุ กัมมันตรังสีที่พบในธรรมชาติมีหลายชนิด เช่น ยูเรเนียม-238 ยูเรเนียม-235 เรดอน-222 เป็นต้น ธาตุกัมมันตรังสีจะปล่อยพลังงานออกม [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :