1.2.1 สรุปพุทธประวัติ

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ณ ใต้ต้นสาละ ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ เมื่อพระชนมายุได้ ๗ วัน พระมารดาเสด็จสวรรคตเมื่อเจริญวัยได้ทรงศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ จนแตกฉาน และเมื่อพระชนมายุได้๑๖ พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา (พิมพา) มีพระโอรส พระนามว่าเจ้าชายราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จประพาสอุทยาน (สวน) นอกเมือง ได้ทอดพระเนต [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.4 การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย ด้านพัฒนาจิตใจ

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นหลักในการพัฒนา ด้านจิตใจ ได้แก่ หลักโอวาท ๓ หลักโอวาท ๓ คือ เว้นจาก 1) การทำความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ 2) การทำความดี และ 3) การทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ โอวาท ๓ เป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ หรือวันมาฆบูชา วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมี แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันที่มีการประชุมครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต และ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.3 การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย ด้านพัฒนากายภาพและสิ่งแวดล้อม

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พระพุทธศาสนามีคำสอนที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากาย พัฒนาจิต และพัฒนาสภาพแวดล้อม ให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชนผู้นับถือและปฏิบัติ พุทธศาสนิกชนได้นำหลักธรรมคำสอน วัฒนธรรมความเชื่อจากพระพุทธศาสนามาพัฒนาเป็นวิถีความเชื่อที่ถูกต้องดีงาม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม ความเป็นอยู่ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข หลักธรรมที่เป็นแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีหลายหลักธรรม ดังนี้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.2 มรดกทางด้านจิตใจ

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดเป็นมรดกทางความประพฤติ กลายเป็นวิถีไทย มรรยาทไทย และลักษณะนิสัยของคนไทยที่แสดงออกผ่านความเอื้ออาทร การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การรู้จักให้อภัย ความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี ความมีสัมมาคารวะ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.1 มรดกทางด้านรูปธรรม

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พระพุทธศาสนา มีส่วนต่อการสร้างสรรค์งานอันเป็นเอกลักษณ์ ในสังคมไทย ในด้านรูปธรรมหลายๆ อย่าง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สิ่งก่อสร้าง ทางพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรม ประติมากรรมต่างๆ ล้วนเป็นมรดกที่ได้รับมาจากพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็น และเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่ได้ถ่ายทอดความเชื่อและความศรัทธาต่อ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.2.2 ประกาศธรรม

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ประสงค์จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงได้เดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ โดยการแสดงปฐมเทศนาที่เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” และทำให้อัญญาโกณฑัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ได้ดวงตาเห็นธรรมและขออุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา และทรงแสดงธรรมต่อไปจนปัญจวัคคีย์ทั้ง ๔ เกิดดวงตาเห็นธรรมและขออุปสมบท เป็นพระสงฆ์สาวก ต่อจากนั้นได้มี ผู้เลื่อมใสเข้ามาขออุปสมบทจนมี พระสงฆ์สาวก ๖๐ รูป พระองค์จึงส่งสาวกเหล่านั้นไปเผยแผ่ศาสนายังเมืองต่างๆ ส่วนพระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรด [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.2.1 ตรัสรู้

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดาและผู้ก่อตั้ง พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระบิดาคือ พระเจ้า สุทโธทนะกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระมารดาคือ พระนางสิริมหามายา เมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษา ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อเตรียม เป็นกษัตริย์ในอนาคต คราวหนึ่งเสด็จประพาสอุทยานได้พบเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ทรงสังเวช สลดพระทัย และเห็นนักบวช ซึ่งอยู่ ในอาการที่สงบก็ทรงพอพระทัย และ เป็นสาเหต [ อ่านต่อ ]

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การทอดกฐิน จัดขึ้นปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ การทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญ คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คือ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา ทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่ง ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้ เช่นกันคำว่า “ผ้าป่า” มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ” ภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึงผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่ประชาชนไม่ใช้แล้วนำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่ใช้ห่อศพแล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.4 แหล่งทำกิจกรรมทางสังคม

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พระพุทธศาสนามีความผูกพันกับสังคมไทย วิถีชีวิตของคนไทย ส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนจึงมีความใกล้ชิดกับวัดซึ่งเป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนา การจัดงานหรือจัดกิจกรรมต่างๆ จึงจัดขึ้นภายในบริเวณวัด เช่น การจัดงานประเพณีท้องถิ่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชนการส่งเสริมพัฒนาชุมชน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1.1.3 สถานที่ประกอบศาสนพิธี

2 พฤษภาคม 2023 ครูออฟ 0
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วัดเป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า การบรรพชา การอุปสมบท โดยพุทธศาสนิกชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆ เพื่อแสดงถึงความเคารพในพระรัตนตรัยและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ให้คงอยู่สืบต่อไป

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :