สื่อ หรือช่องทาง (media or channel)
สื่อ หรือช่องทาง (me dia or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป ดังนี้
(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )
เกณฑ์การแบ่ง | ประเภทของสื่อ | ตัวอย่าง |
---|---|---|
1. แบ่งตามวิธีการเข้า และถอดรหัส | สื่อวัจนะ (verbal) สื่ออวัจนะ (nonverbal) | คำพูด ตัวเลข สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง หนังสือพิมพ์ รูปภาพ |
2. แบ่งตามประสาทการรับรู้ | สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง | นิตยสาร เทป วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ |
3. แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร | สื่อระหว่างบุคคล สื่อในกลุ่ม สื่อสารมวลชน | โทรศัพท์ จดหมาย ไมโครโฟน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
4. แบ่งตามยุคสมัย | สื่อดั้งเดิม สื่อร่วมสมัย สื่ออนาคต | เสียงกลอง ควันไฟ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล วีดิโอเทกซ์ |
5. แบ่งตามลักษณะของสื่อ | สื่อธรรมชาติ สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อระคน | อากาศ แสง เสียง คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว วิทยุ วีดิทัศน์ ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน หนังสือ ใบข่อย |
6. แบ่งตามการใช้งาน | สื่อสำหรับงานทั่วไป สื่อเฉพาะกิจ | จดหมายเวียน โทรศัพท์ วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์ |
7. แบ่งตามการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร | สื่อร้อน สื่อเย็น | การพูด การอ่าน |
โดยสรุป สื่อ หรือช่องทาง คือสิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร