สถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน มีความผูกพันอย่างแนบแน่นและลึกซึ้งกับสังคมไทยเหตุผลที่สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทยอยู่เคียงคู่กันมาอย่างยาวนาน เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงยึดถือ หลักทศพิธราชธรรม (ธรรมของพระราชาหรือธรรมของผู้ปกครอง 10 ประการ) ในการปกครองประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

1) ทาน หมายถึง การให้โดยไม่มุ่งหวังประโยชน์ตอบแทน
2) ศีล หมายถึง ความประพฤติที่ดีงามทั้งกาย วาจา และใจ
3) บริจาค หมายถึง การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
4) ความซื่อตรง หมายถึง การดำารงตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต
5) ความอ่อนโยน หมายถึง การมีอัธยาศัยไมตรี มีกิริยาสุภาพนุ่มนวล มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่
6) ความเพียร หมายถึง ความวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยไม่ย่อท้อต่อความลำาบาก
7) ความไม่โกรธ หมายถึง ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น ไม่อาฆาตพยาบาท
8) การไม่เบียดเบียน หมายถึง การไม่สร้างทุกข์ให้แก่ผู้อื่นการไม่นำาของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยเจ้าของไม่ยินยอม
9) ความอดทน หมายถึง ความอดทนต่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งกาย วาจา และใจ
10) ความยุติธรรม หมายถึง ความหนักแน่น ถือความถูกต้องเที่ยงตรงเป็นหลัก ไม่มีอคติ ไม่หลงในลาภสักการะใด ๆ

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :