วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นวิชาที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง การออกกำลังกาย และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กอย่างรอบด้าน

หัวข้อหลักที่เด็กจะได้เรียนรู้ในวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาระดับประถมศึกษา

สุขศึกษา

  • กายวิภาคของร่างกาย: การเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบประสาท
  • การเจริญเติบโตและพัฒนาการ: การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจในแต่ละช่วงวัย
  • โภชนาการ: การกินอาหารที่มีประโยชน์ การเลือกอาหารให้เหมาะสมกับวัย
  • สุขอนามัยส่วนบุคคล: การดูแลความสะอาดของร่างกาย การแปรงฟัน การอาบน้ำ
  • โรคและการป้องกัน: การรู้จักโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในเด็ก วิธีการป้องกันโรค
  • อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น: การป้องกันอุบัติเหตุ วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • สุขภาพจิต: การดูแลสุขภาพจิต การจัดการกับอารมณ์
  • พฤติกรรมเสี่ยง: การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด

พลศึกษา

  • ทักษะการเคลื่อนไหว: การเดิน วิ่ง กระโดด ปีนป่าย
  • กีฬาพื้นฐาน: กีฬาที่หลากหลาย เช่น บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล ฟุตบอล
  • เกมและการละเล่น: เกมที่ส่งเสริมการออกกำลังกายและความร่วมมือ
  • การออกกำลังกาย: การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  • กีฬาไทย: กีฬาพื้นเมืองของไทย

สื่อการสอนวิชาสุขศึกษา

พ 1.1 ป.5/2          อยู่ในหน่วยที่ 1 ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะ

พ 2.1 ป.5/2          อยู่ในหน่วยที่ 2 ครอบครัวที่หลากหลาย

พ 2.1 ป.5/3          อยู่ในหน่วยที่ 4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว และกลุ่มเพื่อน

พ 3.1 ป.5/5          อยู่ในหน่วยที่ 7 การเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

พ 3.1 ป.5/6          อยู่ในหน่วยที่ 6 การออกกำลังกาย การเล่นเกม  และกิจกรรมนันทนาการ

พ 3.2 ป.5/1          อยู่ในหน่วยที่ 6 การออกกำลังกาย การเล่นเกม  และกิจกรรมนันทนาการ

พ 4.1 ป.5/2          อยู่ในหน่วยที่ 11 ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

พ 4.1 ป.5/4          อยู่ในหน่วยที่ 10 การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรค

พ 5.1 ป.5/1          อยู่ในหน่วยที่ 13 ยาและสารเสพติดให้โทษ

พ 5.1 ป.5/2          อยู่ในหน่วยที่ 13 ยาและสารเสพติดให้โทษ

พ 5.1 ป.5/3          อยู่ในหน่วยที่ 13 ยาและสารเสพติดให้โทษ

พ 5.1 ป.5/4          อยู่ในหน่วยที่ 14 อิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพ

ดาวน์โหลดใบงานต้นฉบับ 12 ตัวชี้วัดที่ต้องรู้

กำหนดการสอน

หน่วยครั้งที่ เรื่อง วันที่
ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะ 1 ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะ 7 กรกฎาคม 2564
ครอบครัวที่หลากหลาย 2ครอบครัวที่หลากหลาย14 กรกฎาคม 2564
การเปลี่ยนแปลงทงเพศและสุขอนามัยทางเพศ 3การเปลี่ยนแปลงทางเพศ 21 กรกฎาคม 2564
4การปฏิบัติตนทางเพศ 28 กรกฎาคม 2564
การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน 5 การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน 4 สิงหาคม 2564
6
7
8
9
10

หน่วยที่ 1 ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะ (2ชั่วโมง)

ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต การดูแลรักษาระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะให้ทำงานตามปกติ เพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย และการรักษาสมดุลทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยที่ 2 ครอบครัวที่หลากหลาย (1ชั่วโมง)

การอยู่ร่วมกันในครอบครัว สมาชิกของครอบครัวควรปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เคารพซึ่งกันและกัน การปฏิบัติตนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข

หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงทางเพศและสุขอนามัยทางเพศ (2ชั่วโมง)

เมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนปลาย จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างชัดเจนมากขึ้น ทำให้ต้องดูแลรักษาสุขอนามัยทางเพศอย่างถูกวิธี และรู้จักการวางตัวให้เหมาะสม

หน่วยที่ 4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน (1ชั่วโมง)

ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนต้องแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งใช้การสื่อสารที่สร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา

หน่วยที่ 5 การพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย (3ชั่วโมง)

การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต้องอาศัยหลักการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน การควบคุมทักษะเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุล อีกทั้งการใช้ทักษะกลไกในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและการเล่นกีฬาตามหลักการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีบุคลิกภาพที่ดี

หน่วยที่ 6 การออกกำลังกายการเล่นเกมและกิจกรรมนันทนาการ (4ชั่วโมง)

การออกกำลังกายและการเล่นเกม เป็นกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และทำให้รู้จักการมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ส่วนกิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่างด้วยความสมัครใจ เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

หน่วยที่ 7 การเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ (7ชั่วโมง)

กีฬามีหลายประเภททั้งกีฬาไทย ก็ฬาสากล ซึ่งมีการเล่นทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม ต้องเลือกเล่นกีฬาที่ตนเองชอบตามความถนัดและความสนใจ ปฏิบัติตามกฎ กติกา เพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นกีฬา และรู้จักยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นเกมและกีฬา จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังสร้างเสริมนิสัยการมีน้ำใจนักกีฬา คือ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

หน่วยที่ 8 การทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย (6ชั่วโมง)

กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นกิจกรรมที่ตรวจสอบระดับความสามารถของร่างกายซึ่งผลที่ได้จากการทดสอบ จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

หน่วยที่ 9 การปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ (1ชั่วโมง)

การมีสุขภาพที่ดีเกิดจากการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งหากปฏิบัติจนเป็นนิสัย จะทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

หน่วยที่ 10 การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรค (4ชั่วโมง)

การรู้จักปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยได้ง่ายและมีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ยังต้องรู้จักดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย เพราะจะช่วยให้อาการเจ็บป่วยบรรเทาความรุนแรงและหายเจ็บป่วยเร็วหรือฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

หน่วยที่ 11 ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (1 ชั่วโมง)

การศึกษาข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ เป็นสิ่งจำเป็นในการนำไปใช้เลือกบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

หน่วยที่ 12 การเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (3 ชั่วโมง)

การเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณา ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจซื้อ และต้องเลือกซื้ออย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ให้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยในการบริโภค

หน่วยที่ 13 ยาและสารเสพติดให้โทษ (4 ชั่วโมง)

สารเสพติดเป็นสิ่งที่ให้โทษต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากสารเสพติดจะทำให้ตนเองมีสุขภาพดี ครอบครัวอบอุ่น ประเทศชาติพัฒนาเจริญก้าวหน้า
การใช้ยาทุกครั้งต้องศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียดเพื่อให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ช่วยป้องกันอันตรายหรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา

หน่วยที่ 14 อิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพ ( 1 ชั่วโมง)

สื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล จึงควรรู้จักวิเคราะห์และเลือกรับข้อมูลที่มีประโยชน์จากสื่อ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะทำให้มีสุขภาพที่ดี

คลิกเรื่องต่อไป

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :