ป.2
การตรวจสอบความผิดพลาดของโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งแล้วเราสะกดผิด หรือเขียนคำสั่งที่โปรแกรมไม่เข้าใจ หากตรวจสอบทีละคำสั่งแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง โปรแกรมก็จะสามารถทำงานต่อไปได้ ตอบคำถามกระตุ้นความคิด ฝึกปฏิบัติกิจกรรมสังเกตและวิเคราะห์ภาพอัลกอริทึม แสดงการทำงานและผลการทำงานของการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เดินทางไปพบจรวด การเขียนโปรแกรมใด ๆ บางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งแล้วเราสะกดคำสั่งผิด หรือเขียนคำสั่งที่โปรแกรมไม่เข้าใจ หากตรวจสอบทีละคำสั่งแล [ อ่านต่อ ]
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
ในการเขียนโปรแกรมมีเครื่องมือในการเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ
ทั้งการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของภาษาโปรแกรม
ตามที่ออกแบบไว้ โดยทุกครั้งก่อนการเขียนโปรแกรมจะต้องมีการออกแบบการทำงานของโปรแกรม
ให้เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้การเขียนโปรแกรมทำงานได้อย่างเป็นลำดับ อีกทั้งยังใช้ในการตรวจสอบ
และแก้ไขความผิดพลาดหากโปรแกรมทำงานผิดพลาด ทั้งนี้สามารถฝึกเขียนโปรแกรมอย่างง่าย
โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://code.org และ https://scratch.mit.edu หรือโปรแกรม Scratch 2.0 มาติดตั้งไว้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบถาวรก็ได้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน
ในการทำงานบางอย่างในชีวิตประจำวันอาจต้องใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการทำงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และลดเวลาในการทำงานลงได้ อีกทั้งยังมีความถูกต้องแม่นยำ เช่น การพิมพ์รายงาน การวาดภาพ การจัดการไฟล์งานต่าง ๆ และการนำเสนองาน ซึ่งสามารถนำซอฟต์แวร์ โปรแกรมระบายสี โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเพาเวอร์พอยต์ เข้ามาช่วยในการทำงานได้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยี
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีกับสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในการใช้นั้น ผู้ใช้จะต้องใช้อย่างปลอดภัย โดยต้องคำนึงถึงอันตรายจากการใช้และเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง และการใช้งานบางอย่างอาจต้องใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้น ผู้ใช้ต้องใช้งาน และดูแลรักษาอุปกรณ์ให้ถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ให้นานมากขึ้น