จุดประสงค์การเรียนรู้
- นักเรียนบอกความหมาย ความสำคัญและการเข้าใช้งานโปแกรม Photoshop CS6 ได้
- นักเรียนบอกชนิดของงานที่เกิดจากโปรแกรม Photoshop CS6 ได้
- นักเรียนมีความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
Photoshop เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างและตกแต่งภาพที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุด อันเนื่องมาจากคุณสมบัติเด่นซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถจัดการกับไฟล์สารพัดชนิดที่ใช้ในงานประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปที่จะนำไปผ่านกระบวนการพิมพ์ และรูปที่นำไปใช้ในเว็บเพจหรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ มีความสามารถเป็นเยี่ยมในการแก้ไขตกแต่งภาพ และการสร้างเอฟเฟ็คเศษต่าง ๆ มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง สามารถบันทึกขั้นตอนที่ต้องทำซ้ำ ๆ ไว้เรียกใช้ภายหลังตลอดจนมีผู้ผลิตปลั๊กอิน (plug-in) ให้เป็นจำนวนมาก ซึ่งปลั๊กอินก็คือโปรแกรมเสริมสำหรับช่วยให้การทำงานที่ซับซ้อนสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็ว
เนื้อหาประจำเรื่อง
- แนะนำการใช้ Photoshop CS6 เบื้องต้น
- ความสามารถของโปรแกรม Photoshop
- ความต้องการของ Photoshop cs6
- การเข้าสู่โปรแกรม Photoshop CS6
- การสร้างและกำหนดขนาดไฟล์งานใหม่
- การเปิดไฟล์ภาพ
- การย่อ-ขยายภาพ
- การบันทึกงานบันทึกไฟล์ Photoshop(.PSD)
- บันทึกไฟล์ทับของเดิม
- การเลิกใช้งานโปรแกรม
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของงานประเภทต่าง ๆ ซึ่งคุณสามารถใช้ Photoshop ช่วยจัดการได้อย่างง่ายดาย
• แก้ไขภาพถ่าย ที่บกพร่องหรือมีตำหนิ เช่น ปรับสีที่เพี้ยน ปรับแสงเงาที่สว่างหรือมืดเกินไปลบแสงแฟลชที่สะท้อนในดวงตา
• ตกแต่งภาพ เช่น ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกไป ลบองค์ประกอบที่รกรุงรัง ปรับภาพให้เบลอหรือคมชัด ปรับผิวกายนางแบบให้ขาวนวลและขจัดไฝฝ้าต่าง ๆ ขจัดเม็ดสีที่เกิดในภาพที่สแกนจากสิ่งพิมพ์
• ดัดแปลงภาพ เช่น ทำภาพใหม่ให้กลายเป็นภาพสีซีเปียแบบโบราณ หรือแปลงภาพเก่า ๆ ที่เป็นขาวดำให้กลายเป็นภาพสี เปลี่ยนภาพคนให้อ้วนขึ้น-ผอมลง หรือเด็ก-แก่กว่าที่เป็นจริง
• ใส่เอฟเฟ็คต์พิเศษ ให้ภาพ เช่น ทำให้เหมือนกำลังมองภาพผ่านกระจกชนิดและลายต่าง ๆ หรือเหมือนเงาสะท้อนในน้ำ เปลี่ยนภาพถ่ายให้ดูคล้ายภาพวาดด้วยเครื่องมือหลากหลายชนิด ใส่ประกายแสงหรือเงาให้วัตถุ ทำวัตถุแบน ๆ ให้ดูเป็น 3 มิติ เปลี่ยนโทนสีของภาพ
• สร้างภาพกราฟิก ซึ่งผสมผสานระหว่างภาพถ่าย ข้อความ และภาพวัตถุหรือเอฟเฟ็กต์พิเศษที่สร้างขึ้นใน Photoshop เพื่อใช้ในงานผลิตสื่อโฆษณา ทำปกหนังสือหรือนิตยสาร หรือใช้ตกแต่งเว็บเพจ
ความเป็นมาของ Photoshop
Photoshop เป็นโปรแกรมของบริษัท Adobe (“อะ-โด-บี้”) ซึ่งเป็นผู้พัฒนา ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก และอุตสาหกรรมการพิมพ์รายสำคัญ รวมถึงเป็นผู้คิดค้นภาษา PostScript และไฟล์แบบ PDF (Portable Document Format) ที่ใช้กันในวงการพิมพ์และการจัดรูปแบบเอกสารบนอินเตอร์เน็ตด้วย ดังนั้น Photoshop จึงสามารถทำงานร่วมและแลกเปลี่ยนไฟล์กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ทำงานด้านกราฟิกได้อย่างกว้างขวาง เช่น โปรแกรม Illustrator, PageMaker และ Acrobat ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของ Adobe เช่นกัน
Photoshop ออกเวอร์ชั่นแรกในปี 1990 และได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ เป็นเวอร์ชั่น 2,2.5, 3, 4, 5, 5.5 และ 6 ,7 ,CS2,CS3,CS4,CS5 จนล่าสุดคือ เวอร์ชั่น CS6 ในขณะนี้ โดยมีขีดความสามารถใหม่ๆ สำหรับการจัดการกับภาพขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง คือ Adobe Bridge CS 6 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการภาพถ่ายของเรา ซึ่งทำหน้าที่เหมือนการทำงานใน Explorer หรือบางอย่างอาจจะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ เช่น การจัดกลุ่มภาพ การแสดงรายละเอียดของภาพ เช่น กล้องที่ใช้ถ่ายด้วยเลนส์แบบไหน โฟกัสเท่าไร ค่า white balance เท่าไร เป็นต้น และที่สำคัญคือสามารถดูตัวอย่างไฟล์ภาพของ Photoshop นามสกุล .psd ได้ โดยไม่ต้องเปิดดูใน Photoshop และยังมีคำสั่งอัตโนมัติที่สามารถเลือกใช้กับไฟล์ภาพได้อีกด้วย
เว็บกราฟิก และ Adobe Photoshop
องค์ประกอบสำคัญในการทำ Web ให้ดูน่าสนใจ คงหนีไม่พ้นรูปภาพที่นำมตกแต่ง ซึ่งผู้พัฒนาหลายๆ คน บ้างก็นำภาพสำเร็จมาใช้งาน บ้างก็นำภาพจากเว็บอื่นๆ ที่ดูสวยงามมาใช้ และก็มีไม่น้อยที่สร้างภาพเอง โดยอาศัยโปรแกรมกราฟิกต่างๆ เช่น Photoshop, Photo Impact, Paint Shop เป็นต้น โปรแกรม Photoshop นับว่าเป็นโปรแกรมกราฟิกสุดฮิต ที่นิยมใช้ในการปรับแต่งภาพ หรือสร้างภาพ เพื่อนำมาใช้งานในเว็บ เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงาน ที่หลากหลาย มีฟิลด์เตอร์เพื่อปรับแต่งภาพ จากค่ายต่างๆ ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งภาพตามต้องการ เดิมทีนิยมใช้ Photoshop เพื่องานสื่อสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) แต่ปัจจุบัน Web Design มีบทบาทในงานธุรกิจและงานการศึกษาสูงมาก จึงนำ Photoshop มาใช้ในงานนี้ด้วย การทำภาพกราฟิกเพื่อใช้ในงานเว็บ มีหลักการเฉพาะ แตกต่างไปจากงานสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งเรื่องความละเอียดของภาพ (Resolution) ที่ใช้แค่ 72 dpi หรือจำนวนสีที่ใช้แสดงผล เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาถึง ลักษณะเฉพาะในการใช้ Photoshop สร้างกราฟิกในงานเว็บ จึงเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจอีกศาสตร์หนึ่ง